Sunday, July 19, 2009

ทริปภาคปฏิบัติสถาปัตยกรรม 4-6 ก.ค. 2552

วันที่ 4 ก.ค. 2552 วันแรกของการเดินทางไปฟิลด์ทริป ยานพาหนะการไปทริปครั้งนี้ก็คือ รถบัสของคณะเราเองซึ่งมีอยู่ สองคัน และยังมีพี่ๆ ปริญญาโท ไปร่วมทริปครั้งนี้ด้วย



สถานที่ที่มุ่งหน้าไปเป็นจังหวัดแรกคือ จังหวัดสระบุรี ไปเยี่ยมชม บ้านอาจารย์ทรงชัย ซึ่งอาจารย์ท่านได้อนุรักษ์บ้านทรงไทยเอาไว้ รู้สึกได้ว่ายังมีคุณค่าของเดิมอยู่มาก ไม่ค่อยทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงไปมากเท่าใดนัก อาจารย์จิ๋วได้แนะนำ อาจารย์ทรงชัยให้ นักศึกษาได้รู้จัก แล้วท่านได้ให้ความรู้เกี่ยวกับชีวิตความเป็นอยู่ของคนไทยสมัยก่อน เน้นเกี่ยวกับพี่น้องชาวไทยวน ในสมัยนั้น เล่าให้ฟังถึงเรื่องประวัติศาสตร์ตำนานก่อนที่จะมาตั้งรกรากอยู่ที่นี้ คนไทยสมัยก่อนมีภูมิปัญญาหลายด้าน เพื่อการดำรงชีวิต อาหารการกิน ยารักษาโรค อาจารย์ก็ได้ให้นักศึกษาแยกย้ายถ่ายรูปกันให้ทั่ว


บ้านอาจารย์ทรงชัย บริเวณบ้านสงบ มีต้นไม้เขียวขจี น้อยใหญ่แต่ละต้นมีประโยชน์ทั้งนั้น กินได้ รักษาโรคได้ มีการเลี้ยงไก่ ได้เห็นภาชนะอุปกรณ์ชิ้นต่างๆที่ไม่เคยเห็นก็ได้เห็นครั้งแรกที่นี่ ได้เดินเข้าไปถ่ายรูปด้านหลังบ้านเป็นสระน้ำที่มีบ้านอยู่รอบๆสระน้ำ น่าอยู่ เย็นสบาย เป็นเหมือนบ้านริมน้ำ มีการวางข้าวของเครื่องใช้ต่างๆ ให้เราได้ศึกษา มีสามหลัง มีอุปกรณ์จับปลา โอ่งน้ำ มีเกวียนและกรงนก ซึ่งหาดูได้ยากมากในยุคปัจจุบัน เครื่องมือทำครัวกระต่ายขูดมะพร้าว อาจารย์ให้เวลาถ่ายรูปกันสักพัก ก็ข้ามถนนมาอีกฝั่งซึ่งเป็นกลุ่มบ้านเรือนไทยริมแม่น้ำป่าสัก การมีประยุกต์ใช้ความชันของตลิ่งนำมาใช้ในการออกแบบ เป็นบันไดลงสู่แม่น้ำ สร้าง step บันไดสร้างเวที มีการประยุกต์การใช้พื้นที่อย่างน่าสนใจ เมื่อกินอาหารกลางวันกันแล้วก็มีการแสดงแบบพื้นบ้านของชาวไทยวนให้ชมด้วยกันทั้งหมด 4 ชุด ศิลปะแบบภาคเหนือ โดยน้องๆ นักเรียน ที่อยู่ภายในชุมชนนั้นได้รับการฝึกจากบ้านของอาจารย์ทรงชัยเอง หลังจากที่เสร็จจากการเยี่ยมชมแล้วก็ได้เดินทางจากบ้านของอาจารย์ทรงชัย จังหวัดสระบุรี เดินทางผ่านลพบุรี สิงห์บุรี ชัยนาท นครสวรรค์ เข้าชม วัดพระนอนจังหวัดกำแพงเพชร ซึ่งวันนั้นตรงกับวันอาสาฬหบูชา ได้เข้าชมโบราณสถาน ถ่ายรูปวิหาร รูปพระยืนสี่ทิศ ตกเย็นมีพีธีเวียนเทียนกัน หลังจากนั้นก็เดินทางไปในตัวเมืองของจังหวัดกำแพงเพชร เพื่อรับประทานอาหารเย็นกันในตอนเย็นที่ตัวเมือง ร้านอาหารเยอะมาก มีตลาดนัด พอทานอาหารเสร็จกันแล้วก็ได้เวลาออกเดินทางสู่จังหวัดลำปาง ถึงจังหวัดลำปาง ตอนประมาณเที่ยงคืน เราได้ทำการเข้าพักที่โรงแรม M.R. PALACE แล้วเข้าเช็คอินเข้าตัวโรงแรมในคืนนั้นห้องพักห้องละสี่คน ตามที่ได้จัดกันเอาไว้แล้ว

วันที่ 5 ก.ค. 2552 จังหวัดลำปาง
เริ่มทริปวันแรกของจังหวัดลำปาง กินอาหารเช้ากันกินข้าวซอยที่เผ็ดมาก กินหมูสะเต๊ะ ขนมปังงหน้าหมู อร่อยมาก วันนั้นฝนตกรินตอนเช้าอาการครึ้มๆ ออกเดินทางสายหน่อยเพราะฝนตกแล้วออกเดินทางกันประมาณเก้าโมงเช้า


โดยเดินทางไปที่แรกคือวันไหล่หิน วัดนี้เงียบสงบมาก ตัววิหารที่วัดไหล่หินนี้เก่าแก่ วันนั้นฝนตกเลยเห็นถึงสีของตัวไม้ออกคล้ำๆ ก็ดูสวยงามไปอีกแบบ แดดไม่ค่อยมีทำให้ถ่ายรูปออกมาไม่ค่อยสวยเท่าที่ควร ซุ้มประตูโขงทางเข้าตัววิหารนั้นมีลายละเอียดที่สวยงาม องค์ประกอบทางด้านศิลป์ฝีมือของช่างในสมัยโบราณ นั้นมีความปราณีตมากในเรื่องของ ลายละเอียด ลายเป็นรูปสัตว์ต่างๆ แสดงอยู่บนชุ้มประตูโขงนี้ ซุ้มประตูโขงนี้ศิลปะคล้ายคลึงกันกับซุ้มประตูของทางเข้าวิหารพระธาตุลำปางหลวง ตัวระเบียงคธรอบด้านของวิหาร ลานกรวดทรายที่ทำให้รูว่ามีประโยชน์อย่างไรในการใช้งาน ลานทรายเปรียบเสมือนการนำทรายที่ติดเท้าของชาวบ้านนั้นเมื่อตอนมาวัดแล้วดินทรายก็ได้พลอยได้เท้าเราไปด้วย ชาวบ้านเลยได้นำทรายมาถวายวัดเพื่อเป็นกุศล นำทรายมาโรยลานวิหาร พื้นที่ว่างเวลาถอดรองเท้าเดินเราจะทราบถึงความสงบการเข้าถึงความหมายที่แท้จริง ดูดโครงสร้างของตัววิหารการวางโครงสร้างอาคาร หลังคา สัดส่วนขององค์พระเพื่อให้เกิดความสวยงาม ลวดลายของงานศิลปะ ศึกษาภาพวาดตามผนังตัววิหาร ลายปิดทองที่เสาที่มีความสวยงาม และส่วนอื่นๆในโถงของตัววิหาร ลายปูนปั้นของวัดไหล่หินที่นี่มีความหมายของมันเอง และมีค่า ยิ่งเก่ายิ่งสวย กระเบื้องของหลังคานั้น ยังคงคงเดิม โทนสี ความเป็นระเบียบของตัวกระเบื้อง ดูแล้วเกิดความศรัทธาในตัววิหารอย่างมาก ลายกระเบื้องพื้นของวิหาร พระธาตุจะอยู่ด้านหลังตรงแนวเดียวกับตัววิหาร ช่อฟ้าใบระกา เห็นถึงความพยายามของบรรพบุรุษ ภูมิปัญญาที่มีมาอย่างช้านาน ทางเดินของระเบียงคธนั้นได้เห็นถึงประเพณีต่างๆของชาวเหนือ มีตุง โคมต่างๆห้อยอยู่ตามระเบียงคธ กลองใหญ่ ฆ้องขนาดใหญ่ ระเบียงคธนั้นจะมีพระพุทธรูปต่างๆอยู่อยู่ตามแนวทางเดินโดยรอบหันหน้าเข้าสู่ตัววิหาร วัดไหล่หินนี้มีต้นยางด้านหลังวัดหลายต้นมีขนาดใหญ่มาก ถ่ายรูปออกมาแล้วทำให้สัดส่วนของวิหารดูน่าสนใจมาก ทั้งๆที่สัดส่วนของอาคารไม่ได้ใหญ่ เป้นสิงที่น่าสนใจอีกประเด็นหนึ่งที่ประทับใจ เดินทางต่อไปพระธาตุลำปางหลวง

พระธาตุลำปางหลวงตั้งอยู่ในเขตตำบลลำปางหลวง อำเภอเกาะคา จังหวัดลำปาง ตัววัดตั้งอยู่บนเนินสูง มีการจัดวางผัง และส่วนประกอบของวัดสมบูรณ์แบบที่สุด มีสิ่งก่อสร้าง และสถาปัตยกรรมต่าง ๆ บริเวณพุทธาวาสประกอบด้วย องค์พระธาตุลำปางหลวง เป็นประธาน มีบันไดนาคนำขึ้นไปสู่ซุ้มประตูโขง ถัดซุ้มประตูโขงขึ้นไปเป็น วิหารหลวง บริเวณทิศเหนือขององค์พระธาตุมีวิหารบริวารตั้งอยู่คือ วิหารน้ำแต้ม และ วิหารต้นแก้ว ด้านตะวันตกขององค์พระธาตุประกอบด้วย วิหารละโว้ และ หอพระพุทธบาท ด้านใต้มี วิหารพระพุทธ และ อุโบสถ ทั้งหมดนี้จะแวดล้อมด้วยแนวกำแพงแก้วทั้งสี่ด้าน นอกกำแพงแก้วด้านใต้มีประตูที่จะนำไปสู่เขตสังฆาวาส ซึ่งประกอบด้วยอาคาร หอพระไตรปิฎก กุฏิประดิษฐาน พระแก้วดอนเต้า อาคารพิพิธภัณฑ์และกุฏิสงฆ์ พระธาตุลำปางหลวงนั้นอยู่ พระธาตุลำปางหลวงมีการบูรณะอยู่วันที่ไปนั้นฝนตกอยู่ บันไดนาคมีขนาดใหญ่สอบเข้า ดูแล้วนำเราไปสู่ ตัวพระธาตุ สวยงาม ประตูโขง เป็นฝีมือช่างหลวงโบราณที่สวยงามก่ออิฐถือปูนทำเป็นซุ้มยอดแหลมเป็นชั้น ๆ มีสี่ทิศ ประดับตกแต่งด้วยลวดลายปูนปั้น รูปดอกไม้ และสัตว์ในหิมพานต์ องค์พระธาตุเจดีย์ เป็นเจดีย์ทรงล้านนา ก่ออิฐถือปูน ประกอบด้วยฐานสี่เหลี่ยมย่อมุมด้วยบัวมาลัยสามชั้น เป็นเจดีย์ขนาดใหญ่หุ้มด้วยแผ่นทองเหลือง ฉลุลายหรือที่เรียกว่าทองจังโก ตามตำนานกล่าวว่าเป็นบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ ที่นี่มีเงาของพระธาตุกลับหัวให้ดูด้วย แต่ผู้หญิงไม่สามารถขึ้นชมได้ บริเวณด้านหน้าทางเข้าพระธาตุลำปางหลวงนั้นมีรถม้า ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของจังหวัดลำปางอยู่ด้วย ซึ่งนักท่องเที่ยวก็ให้ความสนใจกันมาก ถ่ายรูป ละก็ขอใช้บริการชมรอบๆ วัด พอขึ้นไปข้างบนจะเห็นวิหารเป็นสิ่งแรกสามารถมองเห็นองค์พระอยู่ตรงหน้าได้เลย โถงมีขนาดใหญ่ ตัวโครงสร้างหลังคา แต่ที่วัดนี้มีฝ้าเพดานปิดโครงตรงส่วนแนวกลางชั้นใน จึงทำให้มองไม่เห็นอกไก่ด้านบนสุดของหลังคา ลายภาพตามผนังของตัววิหาร เป็นภาพเกี่ยวกับพระพุทธเจ้า เหตุการณ์สำคัญๆต่างๆ ทางพระพุทธศาสนา เมื่อมองออกไปจากตัววิหารไปที่ประตูโขงนั้นดูแล้วได้วิวที่น่าสนใจ เนื่องจากเราอยู่สูงกว่าพื้นด้านล่าง ดูโล่ง เกิดสเปสของวิว เปรียบเสมือนวิหารเป็นศูนย์กลาง แต่ก่อนลานของวัดพระธาตุลำปางหลวงนั้นจะเป็นลานทราย แต่ได้บูรณะใหม่จนทำเป้นลานกระเบื้องแต่บางส่วนก็ยังมีเหลืออยู่ ตัวพระธาตุจะอยู่ด้านหลังของตัววิหาร มีขนาดใหญ่มาก ตัววิหารจะมีสีทองอร่าม ได้เข้าชมพระธาตุหัวกลับ น่าสนใจเป็นอย่างยิ่งที่เข้าชม เกิดจากการหักเหตุของแสงและมุมองศาที่พอดีกัน มากระทบบนผืนผ้า
หลังจากเสร็จจากการ เข้าชมวัดพระธาตุลำปางหลวง ได้รับประทานอาหารกันที่ ร้านอาหารด้านหน้าวัดพระธาตุลำปางหลวง มีร้านค้าขายเยอะ แคปหมู ขนมจีนน้ำเงี้ยว อร่อยมาก กระเพาะปลา ข้าวซอย ของฝากขนมข้าวแต๋น และอื่นๆ อีกมากมาย


เดินทางไปวัดปรงยางครก เป็นอีกวัดหนึ่งที่ยังคงเก็บรักษา วิหารหลังเก่าแก่นี้ไว้เป็นอย่างดี วัดอยู่วัดปงยางคก ตั้งอยู่ที่หมู่บ้านปงยางคก ในเขตอำเภอห้างฉัตร เป็นวัดเก่าแก่มีมาแต่ดั้งเดิม เป็นวัดตัวอย่างของสถาปัตยกรรมล้านนา วิหารของวัดเป็นวิหารเครื่องไม้ ภายในมีศิลปะที่มีคุณค่าหลายประการด้วยกัน คือ โขงพระประธาน พระประธานเป็นพระพุทธรูปปางสมาธิเพชรทางทิศเหนือ ทางทิศใต้มีพระพุทธรูปปางประทานพร ฐานหุ้มมณฑปก่ออิฐปูนปั้น ประกอบซุ้มโขงขนาดเล็ก ธรรมมาสน์ ก่อด้วยอิฐฉาบปูนติดกระเบื้องเคลือบดินเผาสีต่างๆ ส่วนฐานตกแต่งแบบชาวพื้นเมือง ตัวธรรมมาสน์ทำด้วยไม้ลงรักปิดทองลายรูปดอกไม้ ลักษณะของดอกและลายก้านต่างๆ เป็นลายเดียวกัน ภาพเขียน มีภาพเขียนที่สวยงาม มีคุณค่าหลายแห่ง เช่น ลายดาวเพดาน หลังคาไม่มีเพดาน แต่ใช้ตัวโครงสร้างประกอบ เช่น ไม้กลอนหัวเสา และแปลาน เป็นตัวแต่งลายประดับต่างๆ โดยที่ช่างจำลองความคิดมาจากดวงดาวบนท้องฟ้า ลวดลายที่คอสอง เป็นรูปวงกลมใหญ่ มีรัศมีแผ่กระจายออกจากศูนย์กลางอันหมายถึงดวงอาทิตย์ แวดล้อมด้วยดวงจันทร์ และดวงดาวเป็นรูปกลม ลายดอกไม้หรือ ปูรณะฆฏะ ที่กระถางบูชา (หม้อดอก) ของวิหารวัดปงยางคก ถือว่าเป็นผลงานทางศิลปะที่งดงามอ่อนช้อยอย่างยิ่ง
หลังจากที่วัดปงยางครกศึกษาเสร็จเรียบร้อยแล้วอาจารย์จิ๋ว ก็ได้พานักศึกษาออกเดินทางไปตามชุมชนบ้านโบราณในย่านนั้น ดูการจัดสวนของบ้าน ความเป็นอยู่ องค์ประกอบ ความเป็นพื้นฐานของการดำรงชีพ เครื่องไม้เครื่องมือต่างๆ องค์ประกอบที่มีความเกี่ยวข้องกับงานออกแบบทางด้านสถาปัตยกรรม รวมไปถึงประเพณีของแต่ละท้องถิ่น ชาวบ้านที่จังหวัดลำปางใจดีมากให้เราได้ศึกษาบ้านเรือนของชาวบ้านเอง น่าประทับใจมาก บ้านแต่ละหลังน่าอยู่มีสวนครัว มีการดำรงชีวิตแบบเรียบง่าย สงบ การอยู่กับธรรมชาติ เป็นสิ่งที่พอเพียง การออกแบบเครื่องเรือนที่พักอาศัยที่เรีบยง่าย การใช้วัสดุต่างๆในท้องถิ่นมาใช้ให้เกิดประโยชน์ ได้ขอเข้าไปถ่ายรูปบ้านคุณตาคุณยายท่านได้ให้พรน่าอบอุ่นมาก ท่านมีจิตใตดี เอ็นดูคณะพวกเราที่ไปแวะศึกษา เป็นสิ่งหนึ่งที่ประทับใจ

วันที่ 6 ก.ค. 2552 ได้ออกเดินทางออกจากตัวเมืองจังหวัดลำปาง


เพื่อไปหมู่บ้าน ดูชีวิตความเป็นอยู่ของหมู่บ้านในแถบนี้ว่าเป็นอย่างไร ลักษณะความเป็นของเดิมๆ ความเป็นพื้นบ้าน บ้านแต่ละบ้านจะมีสวนหน้าบ้านเป็นสวนดอกไม้ ไม้ประดับ พืชสวนครัวบางส่วนด้วย ส่วนมากจะสร้างบ้านด้วยไม้ในสมัยก่อนๆ ลานหญ้าหน้าบานสะอาดโล่งเตียน โครงสร้างไม้ เกือบจะทุกส่วน บันได เสาไม้ โครงหลังคา ลูกกรงราวกันตก พื้นที่ใต้ถุนนั้นสามารถใช้เป็นลานเอนกประสงค์ได้ นั่งเล่น ทานข้าว รับแขก มีประโยชน์ในหลายๆด้านด้วยกัน มีห้องเก็บของ สวนลำไย ในสวนหลังบ้าน ใต้ถุนแต่ละบ้านดูแลสะอาดน่าอยู่ เปรียบเสมือนเป็นส่วนรับแขกซึ่งต้องดูแลให้สะอาดเรียบร้อยอยู่เสมอ สิ่งที่สำคัญของบ้านพื้นที่แถวนี้ก็คือกระเบื้องที่ใช้มุงหลังคา จะเป็นแบบเดียวกัน หมู่บ้านนี้ส่วนใหญ่จะทำการเกษตรกันเป็นส่วนมาก มีทุ่งนาอยุ่หลังหมู่บ้านเป็นทุ่งกว้าง ไกลๆนั้นเป็นภูเขา หลังจากที่ดูบ้านที่หมูบ้านนี้เสร็จเรียบร้อยแล้ว ได้เห็นการไถ่นา การปลูกข้าว ตอนนั้น

ฝนยังตกอยู่ ชาวนาก็บอกการดำนา ได้เห็นอุปกรณืการทำนา รถไถ่นา ก็ได้ออกเดินทางไป หมู่บ้านปลายนาทำนา เกบตรกรรมกันเหมือนกับหมู่บ้านแห่งแรก ได้ไปแวะทานอาหารกลางวันที่ได้เตรียมมาเอง ที่วัดบ้านปลายนาซึ่งมีเจ้าอาวาส มาแนะนำข้อมูลของหมู่บ้าน พาทางเราเข้าไปแนะนำหลายๆอย่างให้เราได้ศึกษา ได้ฟังเทศน์จากเจ้าอาวาสด้วย ดูบ้านในท้องถิ่นบ้านปลายนา มีการเลี้ยงสัตว์ หมู ไก่ ของชาวบ้าน ได้เดินเล่นถ่ายรูปกับทุ่งนาเขียวๆ
ใกล้จะกลับเราได้แวะบ้านหลังหนึ่ง เป็นบ้านที่อยู่กลางทุ่งนานหลังเล็กๆ เลี้ยงวัวด้วย มีต้นลำไย ได้ซื้อมา หนึ่งพวงในราคา ห้าบาทเท่านั้น บ้านคุณป้าผู้นี้ มีสวนครัว ต้นไม้บังแดด กันลมเลาเกิดพายุ รอบๆ พื้นที่บ้านเป็นนา ปลูกข้าว เหลือพื้นที่ใช้เป็นคอกวัว พื้นที่ไม่ใหญ่ ดูเรียบง่าย ใช้ประโยชน์กับทุกสิ่งในบริเวณนั้น นับว่าบ้านหลังนี้อยู่ด้วยตนเอง กับสิ่งที่มีกับธรรมชาติ พอเพียง น่าประทับใจอย่างมาก
ได้แวะ บ้านเรือนเครื่องผูกหลังหนึ่ง ตอนขากลับ ทางไปหมู่บ้านปลายนา เป็นบ้านเรือนเครื่องผูกทั้งหลัง มุงหญ้า ใช้ไม้ไผ่ทำเสา ทั้งบ้านล้วนแล้วไม่ได้ใช้วัสดุสมัยใหม่มาสร้าง ด้านในมีตะแคร่เป็นส่วนพักผ่อนนั่งเล่น ถัดไปเป็นครัวที่อยู่ข้างใน เรียบง่าย เปิดโล่ง มีหม้อข้าว ซึ้งหวดนึ่งข้าวเหนียววางอยู่ มีชายคายื่นออกมาบังแดดสำหรับพื้นที่หน้าบ้าน ใต้ถุนยกสูงประมานหนึ่งเมตร พื้นที่ของใต้ถุนใช้เก็บฟืนสำหรับหุงต้มอาหาร ผนังของตัวบ้านใช้ไม้ไผ่มาทุบให้เป็นแผ่นแล้วแปะไปตามแนวผนังให้รอบตัวบ้าน ใช้ทั้งหลังสวยงาม โครงหลังคาเป็นไม้ที่หาได้ไม่ยากในท้องถิ่นราคาไม่แพงมากนัก บ้านหลังนี้ยังมีหม้อดินสำหรับใส่น้ำดื่มเย็นๆไว้หน้าบ้านอีกด้วย รั้วข้างบ้านของเจ้าของบ้านหลังนี้เป็นรั้วกินได้ มีพืชผักสวนครัวต่างๆมากมายขึ้น ผักปัง ตำลึง ชะอม และอื่นๆ ปลูกต้นกระเพรา และสวนผลไม้ไว้หลังบ้าน ไร่ข้าวโพดเล็กๆหลังบ้าน
หลังจากนั้นเดินทางไปวัดข่วงกอม วิหารวัดข่วงกอมในตอนแรก แล้วได้ศึกษาหมู่บ้านใกล้เคียงย่านนั้น ได้ศึกษากุฏิของวัดที่มีรูปแบบใหม่แต่ลักษณะคล้ายเดิม เดินดูบ้านสวนหน้าบ้านสวยมาก มีทั้งไม่สวนไม้ประดับ หลากหลาย ต้นไม้น้อยใหญ่ สร้างบรรยากาศให้กับบริเวณบ้านได้เป็นอย่างดี ฝาไหลหน้าบ้านรับลมเย็นๆจากภายนอกเข้าสู่ตัวบ้านได้เป็นอย่างดี มีการวางโอ่งดินเผาไว้หน้าต่างเพื่อให้เย็น เพื่อให้ได้น้ำดื่มเย็นๆ ใต้ถุนของบ้านสะอาด มีการเลี้ยงหมูด้วย ต้นไม้หลากหลายพันธุ์ ส่วนด้านหลังเป็นครัว
ในหมู่บ้านนี้มีคลองส่งน้ำเป็นหัวใจของการใช้น้ำภายในหมู่บ้านด้วย ได้เดินข้ามคลองไปอีกฝากที่มีทุ่งนา ทิวเขาอยู่ไม่ไกลนัก ทุ่งข้าวสีเขียว มีวัวอยู่บ้างตามทุ่งนา ประกอบกับสายน้ำของคลองนั้น ได้ถ่ายภาพส่วนนี้มาด้วย กับเพื่อนๆ สวยงามมาก เพราะว่าไม่มีบ้านคนพักอาศัยอยู่ แถวนั้น มีความอุดมสมบูรณ์มาก อากาศดี
กลับขึ้นรถเดินทางเข้าสู่ตัวเมืองลำปาง ไปแวะกินข้าวก่อนกับโรงแรม แล้วก้อแยกย้ายกลับโรงแรม











No comments:

Post a Comment