Thursday, July 23, 2009

ทริปภาคปฏิบัติสถาปัตยกรรมวันที่ 7-12ก.ค. 2552

วันที่ 7 ก.ค. 2552 จังหวัดลำปาง
เช้าวันนี้ได้เก็บข้าวของก่อนเดินทางไปอีกจังหวัดนั้นก็คือจังหวัดเชียงใหม่ กินข้าวกันเสร็จเรียบร้อยแล้วก็ออกเดินทาง ไปดูงานที่วัดพระแก้วดอนเต้าสุชาดาราม พระบรมธาตุดอนเต้า วัดพระแก้วดอนเต้าสุชาดาราม พระอารามหลวงชั้นตรีชนิดสามัญ ตั้งอยู่ที่ ตำบลเวียงเหนือ อำเภอเมืองลำปาง จังหวัดลำปาง เป็นวัดที่เก่าแก่และสวยงามมีอายุนับพันปี เคยเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร (พระแก้วมรกต) เหตุที่วัดนี้ได้ชื่อว่าวัดพระแก้วดอนเต้า มีตำนานกล่าวว่า นางสุชาดา ได้พบแก้วมรกตในแตงโม (หมากเต้า) และนำมาถวายเจ้าอาวาส เพื่อแกะสลักเป็นพระพุทธรูป ซึ่งก็คือ พระแก้วดอนเต้า ซึ่งต่อมาได้รับการอัญเชิญไปประดิษฐานที่วัดพระธาตุลำปางหลวง เนื่องจากวัดพระแก้วดอนเต้า และ วัดสุชาดาราม นั้นร้างลง แต่มีการสันนิษฐานเพิ่มว่า น่าจะเป็นเพราะย่านนี้เป็นสวนหมากเต้า และเป็นที่ดอน จึงชื่อพระธาตุว่า พระบรมธาตุดอนเต้า และชื่อวัดว่า วัดพระธาตุดอนเต้า และต่อมาเมื่อมีการประดิษฐานพระแก้วดอนเต้า จึงเปลี่ยนชื่อเป็น วัดพระแก้วดอนเต้า วัดพระแก้วดอนเต้า เป็นที่ตั้งของพระบรมธาตุดอนเต้า ซึ่งเป็นพระเจดีย์องค์ใหญ่ บรรจุพระเกศาธาตุของพระพุทธเจ้า

มณฑปศิลปะพม่า ลักษณะงดงาม ประดิษฐานพระพุทธรูปองค์ใหญ่ และวิหารประดิษฐานพระพุทธไสยาสน์ ซึ่งมีอายุเก่าแก่ พอๆกับการสร้างวัดนี้ นอกจากนี้ยังมีวิหารหลวงพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติล้านนาและวิหารพระเจ้าทองทิพย์
ไปต่อที่วัดปงสนุก วิหารพระเจ้าพันองค์จึงเปรียบเสมือนส่วนผสมของศิลปะล้านนา และสิบสองปันนา ซึ่งมีความลงตัวในทุกส่วนสัด โดยในการบูรณะช่างได้พยายามรักษาชิ้นส่วนต่างๆ ที่เป็นของเดิมเอาไว้ให้มากที่สุด


ทั้งลายปูนปั้น ภาพเขียนสี หรือลวดลายฉลุต่างๆ ห้องกลางวิหารประดิษฐานพระพุทธรูป 4 องค์ หันพระพักตร์ออกสี่ทิศ ประทับใต้โพธิพฤกษ์ ทำด้วยตะกั่ว ด้านล่างของฐานชุกชีประดับลวดลายรูปช้าง นาค สิงห์ นกอินทรี ที่น่าชมอีกอย่าง คือ "ห้องแสดงศิลปวัตถุ" ที่อยู่ด้านข้างวิหารพระเจ้าพันองค์ เป็นศาลาชั้นเดียวขนานไปกับกำแพงบนม่อนดอย จัดแสดงโบราณวัตถุดั้งเดิมของวัดราว 4-5 ชิ้น ได้แก่ อาสนะ สัตตภัณฑ์ ขันดอก แผงพระไม้ นอกจากนี้ ยังมีนิทรรศการภาพถ่ายก่อน และหลังการบูรณะที่แสดงถึงความตั้งใจในการบูรณะในทุกรายละเอียดไว้ให้ชมอีกด้วย ด้วยความร่วมแรงร่วมใจของคนในชุมชนบ้านปงสนุกในการฟื้นฟูองค์ความรู้ด้านสถาปัตยกรรมโบราณ และเทคนิคการตกแต่งแบบดั้งเดิมที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวทำให้วัดวัดปงสนุกเหนือได้รับรางวัล Award of Merit ในระดับดี (Awards of Merit) จากองค์การยูเนสโก ที่น่าภาคภูมิใจสุดๆ ก็คือ รางวัลนี้ถือเป็น "รางวัลแรก" ของ "วัดในประเทศไทย" ที่ได้รับการยกย่องในด้านการอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมจากองค์การยูเนสโกอีกด้วย วัดศรีรองเมือง ทานอาหารกันตอนเที่ยง

วัดศรีรองเมือง เป็นวัดที่มีความสำคัญทั้งทางด้านประวัติศาสตร์ มีรูปแบบสถาปัตยกรรมที่โดดเด่น มีรูปลักษณ์การก่อสร้างในรูปแบบของพม่าที่สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2448 ในสมัยที่ลำปางเป็นศูนย์กลางการค้าขาย การทำป่าไม้ โดยคหบดีที่รับจ้างทำไม้ให้ฝรั่งชาติอังกฤษ ที่ได้สัมปทานการทำไม้จากรัฐบาลไทยแทบจะทั่วภาคเหนือ ซึ่งพ่อเฒ่าอินต๊ะ ศรีรองเมือง ร่วมกับชาวบ้านบริจาคที่ดิน จัดหาวัตถุมาก่อสร้างจนแล้วเสร็จ วัดจึงตั้งชื่อตามนามสกุลของผู้ริ่เริ่มสร้างว่า ศรีรองเมือง (นามสกุลมีมาในรัชกาลที่ 6 หลัง พ.ศ. 2453 แล้ว วิหารจึงมีอายุร้อยปี เมื่อ พ.ศ. 2548 ลักษณะสถาปัตยกรรมตัววิหารสร้างด้วยไม้สัก หลังคาจั่วซ้อนกันเป็นซุ้มเรือนยอด เป็นกลุ่มของชั้นหลังคา สวยงามตามแบบศิลปะพม่า มีลายฉลุบนสังกะสี ใช้ประดับบนจั่ว และเชิงชายหลังคา เพิ่มความอ่อนช้อย และสง่างามให้วิหาร เสาไม้ตกแต่งด้วยศิลปะการปั้นรักเป็นลวดลายเครือดอกไม้ ประดับด้วยกระจกสี เฉพาะเสาหน้าพระประธาน จะปั้นรักเป็นรูปเทพารักษ์ คน ยักษ์ วานรและสัตว์ป่าให้เหมือนในป่าหินมพานต์ หลังจากที่เสร็จแล้วก้อออกเดินทางไปจังหวัดลำพูน ไปแวะที่หมู่บ้านจังหวัดลำพูน สถาปัตยกรรมพื้นถิ่นของชาวลำพูน เป็นบ้านยองในสมัยโบราณหลังคากระเบื้องเป็นแบบหางว่าว สร้างด้วยไม้ทั้งหลังโดยบ้านหลังดังกล่าวได้สืบต่อกันมาหลายรุ่นแล้ว ใต้ถุนบ้านมีกระเบื้องวางอยู่ชาวบ้านจะซื้อมาเก็บไว้เพื่อเอาไว้ สร้างฉางเก็บของใต้ถุน

ซ่อมแซมกระเบื้องอันที่เก่าหรือว่าแตกหักเสื่อมสภาพไป บ้านหลังนี้มีทางขึ้นสองทางหน้าบ้านและหลังบ้านเหมือนเป็นทางเข้ารอง มียุ้งเก็บของอยู่บนบ้าน เป็นห้องหนึ่งห้องขนาดประมาณ 24 ตารางเมตร เอาไว้ใช้เก็บเกี่ยวผลผลิตทางการเกษตรแต่ยุ้งเก็บข้าวจะไม่มีบันไดขึ้นนเพราะไม่ค่อยได้ใช้แล้ว เข้าไปสำรวจภายในตัวบ้านมีห้องครัวอยู่บนบ้าน มีห้องสุขาแบบนังยอง แต่ไม่ได้เป็นห้องปิดมิดชิด เป็นส้วมแบบโบราณที่หาดูได้ยาก แล้วเดินไปบ้านยองโบราณ บ้านมะกอก เป็นบ้านของคุณยาย สวนต้นไม้หน้าบ้านสวยงาม ยกใต้ถุนสูง เป็นบ้านโบราณ ทำด้วยไม้ทั้งหลัง มีโต๊ะรับแขกอยู่ใต้ถุนบ้าน โอ่งดินเผาสำหรับรับแขกหน้าบ้านบ้านคุณยายมีขนาดใหญ่ คุณยายเป็นแมวมองส่งนางงามเข้าประกวดอยู่หลายงาน คุณยายชอบงานการประกวด ชอบหาสาวงามมาฝึกสอนเดิน ส่งเข้าประกวดเป็นประจำ บ้านหลังนี้ ประกอบด้วยห้องต่างๆหลายห้องห้องนอน ห้องพระ ห้องนอนขนาดเล็ก ขนาดกลาง ได้ศึกษาการวางของโครงสร้างหลังคาของบ้านคุณยาย การแห้ปํญหาของรางน้ำ ประตูบานพับเพื่อปิดเปิด พื้นที่สำหรับกำหนดพื้นที่ภายในบ้าน กรณีอยากได้พื้นที่มากขึ้นก็สามารถเอาประตูออกได้ พื้นที่ภายในบ้านก็จะมากขึ้น หลงัจากนั้นกHได้นั่งคุยกับคุณยายคุณยายก็เล่าให้ฟังเกี่ยวกับครอบครัว ยายอารมณ์ดีมาก คุยเก่ง ยายอยู่คนเดียวยาย ก็ยังแข็งแรง ยายจบแค่ประถมสี่ เท่านั้น ยายมีพี่น้อง น้องของยายมาเยี่ยมเสมอ ชวนไปเที่ยวบ่อยๆที่บ้านของน้อง ยายก็ไม่ต้องทำงานหนักทุกวันนี้มีคนคอยทำงานบ้านให้บ้าง ยายก็คุยเรื่องการประกวดนางงามให้ฟังน่าสนใจ



ยายคุยเรื่องอดีตให้ฟังดูยายมีความสุขมาก น่าเสียดายที่วันนั้นเราไปบ้านยายแค่ชั่วโมงเดียวเอง แต่ก็ประทับใจเป็นอย่างมากที่ได้ไปบ้านของยาย เพราะเคยเห็นยายออกทีวี ครั้งนึง ตกเย็น เตรียมตัวทานอาหาร กินข้าวที่จังหวัดลำพูน เป็นเซ็ตอาหารแบบขันโตกเป็นอาหารเหนือทั้งหมด มีอาหารแปลกๆ ที่เราไม่เคยกินเยอะมาก วันนี้อาจารย์เลี้ยง อาหารได้เร็วและอร่อย ได้ลองอาหารที่ไม่ค่อยลิ้มรสมากมาย ประสบการณ์ที่ดีอีก

แบบที่ชอบ หลังจากนั้นก็เดินทาง ไปจังหวัดเชียงใหม่ ใช้เวลาเดินทาง สี่ชั่วโมง ก็ถึงจังหวัดเชียงใหม่เราได้เข้าพักที่ สนามกีฬา 700 ปี จังหวัดเชียงใหม่ เป็นห้องจุสิบห้าคนต่อห้อง นอนกันเป็นห้องใหญ่


วันที่ 8 ก.ค. 2552 จังหวัดเชียงใหม่

เริ่มออกเดินทางแปดโมงเช้าเป็นทริปเชียงใหม่ครั้งแรกวันแรก ไปกินข้าวเช้ากันที่ตัวเมืองเชียงใหม่ตรงข้าม มหาลัยเชียงใหม่ แล้วออกเดินทางไปที่วัดพันเตา โครงสร้างสถาปัตยกรรมของวิหารวัดพันเตา ตัวอาคาร เนื่องจากสถาปัตยกรรมแบบเชียงแสนส่วนใหญ่ใช้ไม้เป็นวัสดุหลัก มีโครงสร้างแบบกรอบยึดมุมมาก

เสาและฝาทุกส่วนเป็นไม้โดยเฉพาะฝามีแบบวิธีการสร้างพิเศษคล้ายกับฝาปะกนของฝาไม้สมัยอยุธยา แต่มีขนาดตัวไม้ที่แน่นหนามั่นคงกว่า คือเป็นกรอบไม้ยึดยันรูปสี่เหลี่ยม อัดช่องภายในด้วยแผ่นไม้ลูกฟัก สัดส่วนใหญ่และหนากว่าฝาปะกน การทำฝาแบบทางเหนือนั้น ใช้ตัวไม้โครงเป็นช่องตารางยึดติดกับช่วงโครงสร้างก่อน แล้วจึงบรรจุแผ่นลูกฟักภายหลัง ฝาแบบนี้แข็งแรงและมั่นคง เพราะต้องทำหน้าที่เป็นตัวรับน้ำหนักของส่วนบนอาคารด้วย การทำฝาผนังของวิหารวัดพันเตาก็เป็นลักษณะนี้ โดยเฉพาะวิหารนี้ฝาผนังด้านข้างจะยาวตลอดเป็นแนวเดียวกัน




ไม่มีการย่อมุขซึ่งเป็นที่นิยมมากทางภาคเหนือคือ การย่อมุมตรงมุขหน้าวิหารทั้งๆ ที่เป็นวิหารขนาดใหญ่มาก การสร้างวิหารนี้ช่างทางเหนือสามารถแก้ปัญหาที่ความรู้สึกหนักทึบของฝาผนังด้านข้างที่มีขนาดใหญ่มากๆ นี้ได้ โดยอาศัยการแบ่งพื้นที่ของผนังด้วยกรอบไม้ยึดยันรูปสี่เหลี่ยมดังที่กล่าวมาแล้ว พร้อมกันนั้นก็ใช้ประโยชน์จากฝาผนังแบบนี้ ให้เป็นตัวช่วยรับน้ำหนักจากหลังคาที่มีขนาดใหญ่ตามขนาดวิหาร ไปต่อกันที่โรงแรม ยูเชียงใหม่ โรงแรม ยู เชียงใหม่ โรงแรมเปิดใหม่สไตล์บูติกล้านนา ตั้งอยู่ติดกับถนนคนเดินเชียงใหม่วันอาทิตย์ (ถนนราชดำเนิน) บริเวณสี่แยกกลางเวียง เป็นโรงแรมที่นำเอกลักษณ์ความงามทางสถาปัตยกรรมและรูปแบบ มาประยุกต์ออกแบบโรงแรมได้อย่าลงตัว แล้วได้เดินทางออกนอกตัวเมืองเชียงใหม่ไปที่ วัดทุ่งอ้อ ซึ่งเป็นรูปแบบของศิลปะที่สืบทอดต่อจากเวียงกุมกาม ทำให้แน่ใจได้ว่าวัดแห่งนี้มีอายุ ไล่เลี่ยกับเมืองเชียงใหม่ วิหารกับวัดเป็นสิ่งที่อยู่คู่กันมาแต่ครั้งโบราณ เนื่องจากวิหารเป็นสถานที่ใช้ สำหรับประกอบพิธีกรรมทางศาสนาของทั้งพระสงฆ์และฆารวาส นอกจากนั้นตาม หมู่บ้านต่าง ๆ จะนิยมใช้วิหารของวัดเป็นสถานที่ประชุมและจัดกิจกรรมต่าง ๆ ของ หมู่บ้านด้วยเช่นกัน วิหารของวัดอื่น ๆ ส่วนใหญ่จะมีความกว้างขวางใหญ่โตเพื่อสามารถ รองรับผู้คนที่มาทำบุญได้จำนวนมาก แต่ยังมีวิหารอีกแห่งหนึ่งที่มีขนาดเล็กแต่ทรงคุณค่า ด้านศิลปะและมีอายุเก่าแก่หลายร้อยปี นั่นคือพระวิหารวัดพระทุ่งอ้อ ความโดดเด่นและสวยงามของพระวิหารอยู่ที่การประกอบไม้โดยไม่ใช้ตะปูทั้ง หลัง เป็นวิหารก่ออิฐถือปูน และใช้ไม้สักเกือบทั้งหลังสำหรับการก่อสร้าง ซึ่งจะหาดูได้ ยากตามวัดโดยทั่วไป ดังนั้นตัวพระวิหารของวัดทุ่งอ้อจึงมีขนาดเล็กกว่าวิหารทั่วไป



คือ จุคนได้ประมาณ 50-60 คน ส่วนองค์พระประธานของวิหารนั้น เป็นศิลปะผสมระหว่าง พม่าและล้านนา สันนิษฐานว่าในสมัยโบราณบริเวณแถบนี้ได้มีการสู้รบระหว่างล้านนา กับพม่าบริเวณ และพม่าได้ยึดวัดนี้ไว้ จึงทำให้วัดมีศิลปะของพม่าผสมอยู่ เดินทางเยี่ยมชม วัดอินทราวาศ ตั้งอยู่ ตั้งอยู่ที่บ้านต้นแกว๋น ต.หนองควาย อ.หางดงเป็นวัดเก่าแก่ที่มีลักษณะงดงามมาก สิ่งที่น่าสนใจ คือศาลาจัตุรมุขซึ่งพบเพียงหลังเดียวในภาคเหนือ นอกจากนี้ ศิลปกรรมล้านนาดั้งเดิมภายในวัดนี้ยังจัดว่าเป็นต้นแบบที่สมบูรณ์และมีคุณค่ามาก เพื่อเป็นสถานที่หยุดพักขบวนแห่พระธาตุศรีจอมทอง จากอำเภอจอมทอง มายัง เมืองเชียงใหม่ ให้ประชาชนแถบนี้ได้มาบูชาและสรงน้ำพระธาตุ แล้วจึงอัญเชิญต่อไปยังเมืองเชียงใหม่ เพื่อให้เจ้าผู้ครองนคร และประชาชนในเมืองเชียงใหม่สรงน้ำบูชาอันเป็นประเพณีทุกปี หลังจากนั้นเดินทางไปโรงแรมราชมังคลา ราชมังคลา เชียงใหม่ (Rachamankha Chiangmai) เกิดขึ้นจากความรัก และหลงใหลในศิลปวัฒนธรรมล้านนา ผสมผสานกับศิลปะจีนโบราณ เพื่อให้ผู้ที่มาเยือนสามารถเข้าถึงวัฒนธรรมล้านนาได้อย่างแท้จริง วัสดุที่ตกแต่งภายในห้องเป็นศิลปะล้านนานำเข้ามาจากจีน ลาว และพม่า


วันที่ 9 ก.ค. 2552 เชียงใหม่ ไปกินข้าวเช้าที่มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เก็บของออกจากสนามกีฬา 700 ปีแล้วหลังจากนั้นได้ไป ศูนย์ส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ บ้านโบราณจของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยมีบ้านโบราณอยู่เรียงรายมีให้เลือกชมหลายประเภท เป็นบ้านไม้ที่ได้ขออนุรักษ์เอาไว้มาเก็บแสดง ได้ทำการศึกษาเรื่องของรูปแบบการออกแบบเรือนไทยสมัยก่อน การใช้ไม้ก่อสร้างในรูปแบบต่างๆ ที่เป็นประสบการณ์ที่เรายังไม่เคยเห็น มีการสร้างกระท่อมหลังเล็กๆ ก่อนเข้าสู่ศูนย์ส่งเสริมศิละวัฒนธรรม ยังคงเอกลักษณ์ความเป็นพื้นบ้าน พื้นถิ่น สร้างบรรยากาศด้วย การปลูกต้นไม้น้อยใหญ่ รอบๆ ตัวโครงการ คล้ายๆกกับเป็นหมู่บ้านจำลองหมู่บ้านหนึ่งเลยก็ว่าได้ มีคนดูแลศูนย์นี้อยู่ด้วยคอยดูแล ให้ความรู้นักท่องเที่ยว ได้เห็นเครื่องใช้ไม้สอย เช่นโอ่งน้ำดินเผาเล็กๆ ข้างล่างใต้ถุนของแต่ละหลังมีประโยชน์ใช้นั่งพักผ่อนมีตะแครนั่งเล่นได้ นอกจากบ้านยังมียุ้งข้าว เอาไว้เก็บผลผลิตของชาวบ้าน ก็เป็นตัวอย่างยุ้งข้าวที่ได้เข้าชม บ้านบางหลังใต้ถุนอาจจะไม่สูงมากนัก เน้นยกพื้นสูงเมตรกว่าๆ ได้ศึกษาการใช้วัสดุของบ้านที่ได้ชม ว่าประกอบด้วยอะไรบ้าง เช่นไม้ เสาไม้ชนิดของไม้
กระเบื้องดินเผาที่ใช้มุงหลังคาก็เป็นเอกลักษณ์อย่างหนึ่งที่ได้ชม มีเกวียน มีการเก็บเครื่องมือหาปลาไว้ให้ชม แสดงให้เห็นถึงวิถีชีวิตของคนพื้นถิ่นนั้นๆได้เป็นอย่างดี มีการจัดสวนที่สวยงาม สร้างบรรยากาศให้บ้านดูร่มรื่น หลังจากที่เยี่ยมชมเสร็จแล้วได้เดินทางออกจากจังหวัดชียงใหม่ไปสุ่จังหวัดแพร่

ได้เข้าชม หมู่บ้านแม่จอกนอก ดูวิถีชีวิตของชาวบ้านที่จังหวัดแพร่ ชาวบ้านทำเกษตรกรรมกันส่วนใหญ่ บ้านที่กหมู่บ้านนี้ยังคงใช้วัสดุในการสร้างบ้านที่ยังใหม่มากนำมาสร้างบ้าน อย่างเช่นหลังคาของบางหลังนั้นยังคงมุงแฝกอยู่เลย ชาวบ้านหาวัตถุดิบได้จากท้องถิ่นของตนเอง ลักษณะพื้นที่ของหมู่บ้านเป็นเนิน slope ส่วนมาก การสร้างบ้านสูงต่ำจะไม่เท่ากัน
ทำให้ดูแล้วน่าสนใจ สวยงามมีสเปสต่างๆที่น่าสนใจ มีประโยชน์ทางด้านการออกแบบ ส่วนมากบ้านจะทำด้วยไม้ ยกใต้ถุนสูง หมุ่บ้านนี้มีความอุดมสมบูรณ์อยู่ มีลำธารน้ำใสสะอาด ใกล้ภูเขา อากาศเย็นสบาย มีการปลูกพืชผักสวนครัวไว้กินเอง ได้เห็น รั้วบ้านที่ทำด้วยไม้ต่างชนิดกัน ต้นไม้ที่ขึ้นพันรั้วนั้นก็ทานได้ เป็นอาหารของชาวบ้าน ต้นไม้น้อยใหญ่ ให้ร่มเงา นำมาก่อสร้างบ้าน เป็นโครงสร้างงานทางด้านสถาปัตยกรรม ได้เป็นอย่างดี การออกแบบฝาผนังของบ้านโดยใช้ไม้ไผ่มาเป็นโครงสร้างลายเส้นการจักสานต่างๆที่เกิดลวดลาย ที่ได้จากธรรมชาติ เป็นภูมิปัญญาที่ได้จากการใช้ธรรมชาติท้องถิ่น
ได้เห็นต้นไม้แปลกที่บ้านเราไม่มี ก็เป็นอีกประการที่ได้เห็นที่หมู่บ้านแม่จอกนอกแห่งนี้ หลังจากที่ได้ถ่ายรูปกันเยอะแล้ว ก็ไปถ่ายรูปลำธาร ที่อยู่ต้นทางเข้าหมู่บ้าน เป็นลำธารเล็กๆ ที่ไหลมาจากบนเขา สนุกสนานกับเพื่อนๆ เพราะน้ำเย็นสะอาดสวยงาม ชาวบ้านใจดีมาก


วันที่ 10 ก.ค. 2552 จังหวัดสุโขทัย
เดินทางแปดโมงเช้า กินอาหารเช้ากันที่ตลาดเมืองสุโขทัยตอนเช้า เดินทางมุ่งสู่สนามบินสุโขทัย ตั้งอยู่ ต.คลองกระจง อ.สวรรคโลก จ.สุโขทัย เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับผู้เดนทางที่ประสงค์จะเดินทางจากสุโขทัยไปยังต่างประเทศหรือจากต่างประเทศมายังสุโขทัย โดยเฉพาะอย่างยิ่งเป็นการบริการอำนวยความสะดวกให้กับผู้โดยสารที่เดินทางในเส้นทางจากสุโขทัย รางวัลชมเชย สถาปัตยกรรมดีเด่นจาก สมาคมสถาปนิกสยามในพระบรมราชูปถัมป์ประจำปี 2541 รางวัดดีเด่นสถานประกอบการที่มีการจัดการและรักษาสภาพแวดล้อม อาคารต่าง ๆ ภายในสนามบิน อาคารผู้โดยสารขาเข้า เป็นอาคารชั้นเดียว เปิดโล่ง ไม่มีผนัง หลังคาทรงจั่วแบบสุโขทัยซ้อนมุข 1 ชั้น โครงสร้างพื้นฐาน ค.ส.ล โครงสร้างหลังคาไม้ ขนาดพื้นที่ใช้สอย 204 ตารางเมตร รองรับผู้โดยสารได้ 200 คน อาคารผู้โดยสารขาออก เป็นอาคารชั้นเดียว เปิดโล่ง ไม่มีผนัง หลังคาทรงจั่วแบบสุโขทัยซ้อน มุข 1 ชั้น โครงสร้างพื้น ค.ส.ล โครงสร้างหลังคาไม้
ขนาดพื้นที่ใช้สอย 204 ตารางเมตร รองรับผู้โดยสารได้ 200 คน รูปแบบการออกแบบของสนามบินนี้ ได้ประยุกต์รูปแบบ สถาปัตยกรรมไทยมาเป็นตัวคอนเซปของสนามบินวิถีชีวิต รูปแบบต่างๆของไทย แม้กระทั่งการใช้อิฐมาเป็นตัวสร้างความสวยงามให้กับตัวอาคาร การจำลองเจดีย์ทรงพุ่มข้าวบิณฑ์ของสุโขทัยมาเป็น sculture ของสนามบินได้อย่างสวยงามและลงตัว ขึ้นรถรางของสนามบินเข้าชมรอบๆสนามบินโดยทั่ว มีโรงเพาะชำกล้าไม้ชนิดต่างๆ มีกล้วยไม้มากมายเป็นไม้ดอกที่นำมาประดับตกแต่งที่สนามบินนี้ เข้าชม โรงแรมสนามบินสุโขทัยมีความสวยงามมาก ลักษณะคล้ายกับ อาคารของสนามบินเองโดยอ้างอิงลักษณะคล้ายๆกัน มีการตกแต่งอย่างหรูหรา โครงสร้างเป็นโครงสร้าง ก่ออิฐถือปูน ใช้ไม้บ้างในบางส่วน หิน กระเบื้อง พักทานก๋วยเตี๋ยวที่สนามบิน ส้มตำ
และน้ำแข็งใส หลังจากนั้นเดินทางไปต่อที่ ศูนย์ศึกษา และอนุรักษ์เตาสังคโลก (เตาทุเรียง) ตั้งอยู่ที่บ้านเกาะน้อย ห่างจากตัวเมืองเก่าศรีสัชนาลัยเลียบแม่น้ำยมไปทางเหนือประมาณ 6.5 กิโลเมตร มีเตาเผาที่ขุดพบเตาเผาเครื่องถ้วยสังคโลกแล้วกว่า 500 เตา ในระยะทางยาวประมาณ 1 กิโลเมตร ถือได้ว่าเป็นนิคมอุตสาหกรรมของเมืองศรีสัชนาลัย มีการขุดพบเครื่องสังคโลกทั้งในสภาพสมบูรณ์ และแตกหักเป็นจำนวนมาก ลักษณะเตาเผาจะเป็นรูปยาวรีคล้ายประทุนเรือจ้างยาวประมาณ 7 - 8 เมตร
หลังจากนั้นเดินทางต่อไป วัดเจดีย์เก้ายอด เจดีย์เก้ายอดที่อยู่ใกล้อุทยานประวัติสาสตร์ศรีสัชนาลัย เจดีย์ตั้งอยู่บนเขาเรียงกันต่อไปคล้ายกัน เก้ายอด จึงเรียกเจดีย์นี้ว่าเจดีย์เก้ายอด หลังจากชมเจดีย์แล้ว เดินทางเข้าสู่ตัวอุทยานศรีสัชนาลัย เป็นเมืองถาวรที่ตั้งรกรากอยู่อาศัยกันมายาวนานเก่าแก่ตั้งแต่ก่อนสุโขทัยนับร้อยปี พ่อขุนศรีอินทราทิตย์ ของพญาลิไท ในขณะที่พระองค์ต้องพยามดิ้นรนต่อสู้กับกรุงศรีอยุธยา จึงมีการก่อสร้างวัดขึ้นในเขตเมืองมากมายหลายแห่ง และยังเป็นวัดขึ้นที่ปรากฎซากปรักหักพังที่ได้รับการบูรณะซ่อมมาจนถึงทุกวันนี้เป็นอย่างดีนอกจากเรื่องเมืองและวัดดังกล่าวแล้ว เมืองศรีสัชนาลัยยังเป็นเมืองแหล่งเตาสังคโลกโบราณที่จมดินอยู่สองฟากริมแม่น้ำยมเป็นจำนวนมากทั้งสองฝั่ง ที่บ้านป่ายาง บ้านเกาะน้อย บ้านหนองอ้อ และบริเวณวัดดอนลาน ที่อุทยานประวัติศาตร์ศรีสัชนาลัยแห่งนี้แม้จะไม้อรังการเท่ากับวัดมหารธาตุสุโขทัย แต่หลาย ๆ คนก็กลับชอบที่นี้มากกว่า เพราะที่นี่ไม่พลุกพล่าน เมืองไม่ใหญ่นัก ละมีอาณาเขตของเมืองเป็นแนวกำแพงเมืองติดแม่น้ำเห็นได้อย่างชัดเจนเลยที่เดียว ป้อมประตูรามณรงค์ อยู่ระหว่างกำแพงเมืองชั้นในด้านตะวันออกเฉียงใต้ ในเขตอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย เป็นประตูขนาดใหญ่ก่อด้วยศิลาแลง ฐานประตูรูปบัวคว่ำ กรอบนอกทั้ง ๔ มุม เป็นลักษณะย่อมุมไม้สิบสอง ด้านหน้ามีทางเดินปูด้วยลูกรังไปถึงป้อมประตู ซึ่งเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ผนังด้านนอกสุดเป็นการสกัดลงบนชั้นดินดาน รอบตัวป้อมล้อมรอบด้วยคูเมืองและสระน้ำ วัดนางพญาวัดนางพญา มีบริเวณกว้างขวางพอสมควร ภายในวัดมีเจดีย์ทรงลังกาประกอบซุ้มเรือนธาตุเป็นประธาน ก่อด้วยศิลาแลงสูงใหญ่ และมีสภาพสมบูรณ์รอบฐานเจดีย์ มีเสาโคมไฟโดยตลอด มีบันไดขึ้นไปบนเจดีย์ และมีวิหารซึ่งขนาดเจ็ดห้อง ซึ่งเป็นผังที่นิยมสร้างกันในแบบสุโขทัยและสถาปัตยกรรมเมืองเหนือ ภายในวิหารตามเสาทุกด้านมีเทพพนมและลวดลายต่างๆ ทำด้วยสังคโลกไม่เคลือบ จุดเด่นของวัดนี้คือมีผนังเหลืออยู่ด้านหนึ่งโดยมีลวดลายปูนปั้น (Stucco Decoration) ที่สวยงามอยู่ แต่ปัจจุบันหลุดลอกออกไปพอสมควรแล้ว ทั้งนี้มีการสร้างหลังคาสังกะสีคลุมผนังไว้อีกทีเพื่อการอนุรักษ์ ผนังดังกล่าวเป็นผนังที่ไม่มีหน้าต่าง แต่มีช่องอากาศตามแบบสุโขทัยและอยุธยาตอนต้น

วัดช้างล้อม เป็นโบราณสถานสำคัญ ตั้งอยู่ในอุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย อำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย มีเจดีย์ทรงลังกาที่ตั้งอยู่บนฐานประทักษิณรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส มีช้างปูนปั้นเต็มตัวล้อมรอบ ซึ่งเป็นที่มาของชื่อโดยรอบฐานทั้ง 4 ด้าน รวม 39 เชือก โบราณสถานที่สำคัญ คือ เจดีย์ประธานทรงลังกาตั้งอยู่ภายในกำแพงแก้วสี่เหลี่ยมจัตุรัส โดยมีซุ้มประตูทั้ง 4 ทิศ ประตูด้านหน้าและประตูด้านหลังเป็นทางเข้าออกก่อเป็นกำแพงศิลาแลงหนามีการเล่นระดับที่ซุ้มประตูอย่างสวยงาม สำหรับประตูด้านข้างก่อเรียงอิฐศิลาแลงปิดไว้เป็นประตูตัน เจดีย์ประธานทรงลังกาขนาดใหญ่ ตั้งอยู่บนฐานประทักษิณรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสซ้อนกันหลายชั้น
มีทางเดินเป็นบันไดขึ้นไปยังชั้นบน โดยรอบเจดีย์มีช้างปูนปั้นเต็มตัวประดับโดยรอบฐานทั้ง 4 ด้าน ด้านละ 9 เชือก (ยกเว้นด้านหนึ่งซึ่งเป็นบันไดทางขึ้นมีเพียง 8 เชือก) และที่มุมมีช้างขนาดใหญ่ประดับอีก 4 เชือก รวมเป็น 39 เชือก

ช้างเชือกใหญ่ที่อยู่มุมเจดีย์เป็นช้างทรงเครื่องมีลวดลายปูนปั้นประดับที่คอ และข้อเท้าสวยงามกว่าช้างที่ฐานสี่เหลี่ยม ระหว่างช้างปูนปั้นที่ฐานนั้นจะมีเสาประทีปศิลาแลงสลับเป็นระยะ ด้านหน้าช้างแต่ละเชือกจะมีพุ่มดอกบัวตูมปูนปั้นวางตั้งอยู่ หลังจากนั้นไปวัดพระศรีมหาธาตุเชลียง แต่มืดก่อนเลยถ่ายรูปไม่ทัน พรุ่งนี้ตีห้าเดินทางมาถ่ายรูปใหม่ หลังจากนั้นเดินทางกลับที่พักโรงแรมจังหวัดสุโขทัย

วันที่ 11 ก.ค. 2552 จังหวัดสุโขทัย ตื่นตีสี่ครึ่งขึ้นรถตีห้า รถออกมุ่งหน้าไปที่วัดพระศรีมหาธาตุเชลียงราชวรวิหาร ได้ไปถ่ายรูปที่นั่นใหม่อีกครั้ง ซื้อข้าวเหนียวหน้าสังขยากิน ปรางค์ประธานวัดก่อด้วยศิลาแลงฉาบปูนเสร็จแล้วลงสีชาดทับ ลักษณะรูปแบบสถาปัตยกรรมจัดอยู่ในสมัยอยุธยาตอนต้น ภายในองค์พระปรางค์มีสถูปรูปดอกบัวตูมขนาดเล็กโผล่ขึ้นมาคล้ายถูกสร้างครอบทับ น่าจะบรรจุสิ่งของสำคัญสำหรับการบูชาอยู่ ชาวบ้านเรียกกันว่า "หัวใจพระพุทธเจ้า" ตามผนังภายใน องค์ปรางค์พบว่ามีร่องรอยเดิมคงมีจิตรกรรมฝาผนัง
แต่ลบเลือนไปมากเขียนด้วยสีแดงแบบโบราณ ลายพรรณพฤกษา ส่วนบริเวณเรือนธาตุด้านหน้ามีบันไดขึ้นองค์ปรางค์ได้ ลักษณะฐานปรางค์องค์นี้ มีเป็นวิหารคด 3 ชั้น ก่อผนังทึบ และเจาะช่องแสง ฐานปรางค์แผ่ขยายกว้างออกไปทั้ง 3 ด้าน (ด้านหน้าเป็นพระวิหาร) คล้ายสร้างครอบสถูปหรือเจดีย์ที่สำคัญไว้ภายใน
มีอายุอยู่ ในช่วงก่อนสุโขทัยตอนต้น เนื่องจากขุดค้นพบฐานโบราณคดีก่อด้วยอิฐอยู่ใต้ฐานพระวิหารหลวง นอกจากนี้ยังพบกระเบื้องเชิงชายรูปนางอัปสรและเทวดา ซึ่งมีลักษณะร่วมสมัยศิลปะเขมรแบบบายน เช่นเดียวกับลายปูนปั้นยอดซุ้มประตูกำแพงวัด ซึ่งทำเป็นรูปพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร อยู่ด้านบนทั้ง 4 ทิศ ด้านล่างเป็นรูปเทพธิดานั่งในกรอบ ซุ้มด้านล่างเป็นรูปนางอัปสรร่ายรำ ฐานพระวิหารหลวงพ่อโตอยู่ด้านหน้าพระปรางค์ ภายในประดิษฐานพระพุทธรูปขนาดใหญ่ปางมารวิชัย ประทับอยู่ตรงกลางขนาบด้วยพระพุทธรูปขนาดเล็กประทับยืนทั้ง 2 ข้าง ถัดจากพระพุทธรูปปางมาร วิชัยทางด้านขวามีพระพุทธรูปปั้นปางลีลาที่มีลักษณะงดงาม มณฑปพระอัฏฐารสอยู่ด้านหลังของพระธาตุมุเตา เดิมน่าจะเป็นมณฑปพระสี่อริยาบท ต่อมาได้ซ่อมแซมดัดแปลงภายในซุ้มคูหายังมีพระพุทธรูปปูนปั้นยืนอยู่ เดิมเป็นมณฑปมุงหลังคาด้วยกระเบื้องดินเผา วัดกุฎีลาย แสดงให้เห้นการเรียงงอิฐของหลังคาว่ามีรูปแบบการวางอย่างไรให้แข็งแรงรูปทรงคล้ายบ้านทรงไทย เดินทางเข้าสุ่อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย


เริ่มต้นจากการเข้าชมวัดมหาธาตุ ตั้งอยู่ในใจกลางเมือง ตามแบบแผนความเชื่อในเรื่องจักรวาลแบบอินเดียโบราณ เป็นวัดที่มีความสำคัญประกอบด้วยเจดีย์ประธาน วิหาร มณฑป โบสถ์ และเจดีย์รายจำนวนมากถึง 200 องค์ นับเป็นวัดสำคัญประจำกรุงสุโขทัย
มีพระเจดีย์มหาธาตุ ทรงพุ่มข้าวบิณฑ์ศิลปะแบบสุโขทัยแท้ตั้งเป็นเจดีย์ประธาน ล้อมรอบด้วยเจดีย์ 8 องค์ บนฐานเดียวกัน คือ ปรางค์ศิลาแลงตั้งอยู่ที่ทิศทั้ง 4 และเจดีย์แบบศรีวิชัยผสมลังกาก่อด้วยอิฐอยู่ที่มุม ด้านตะวันออกบนเจดีย์ประธานมีวิหารขนาดใหญ่ก่อด้วยศิลาแลง มีแท่นซึ่งเคยเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปสำริดที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย คือ พระศรีศากยมุนี


ปัจจุบันได้รับการเคลื่อนย้ายไปอยู่ที่วัดสุทัศน์ฯ กรุงเทพฯ ที่ด้านเหนือและด้าน ไต้เจดีย์มหาธาตุมีพระพุทธรูปยืนภายในซุ้มพระ เรียกว่า "พระอัฎฐารศ" ด้านใต้ยังพบแท่งหินเรียกว่า "ขอมดำดิน" อีกด้วย เจดีย์ประธาน ซึ่งตั้งอยู่ในใจกลางเมือง ตามแบบแผนความเชื่อในเรื่องจักรวาลแบบอินเดียโบราณ เป็นวัดที่มีความสำคัญประกอบด้วยเจดีย์ประธาน วิหาร มณฑป โบสถ์ และเจดีย์รายจำนวนมากถึง ๒๐๐ องค์ เจดีย์ประธาน ซึ่งตั้งเด่นสง่างามมีลักษณะเป็นเจดีย์ทรงดอกบัวตูมถือว่าเป็นสถาปัตยกรรมที่แสดงถึงเอกลักษณ์ของศิลปะสุโขทัยโดยแท้ แต่คงมิได้เป็นรูปแบบแรกเริ่มเมื่อมีการสร้างวัดมหาธาตุขึ้น ของเดิมน่าจะมีลักษณะเช่นเดียวกับเจดีย์ทิศที่ตั้งอยู่บนฐานเดียวกัน และตั้งอยู่ตรงกลางของด้านทั้งสี่ รายรอบเจดีย์ประธานเป็นเจดีย์ทิศจำนวน ๘ องค์ องค์ที่อยู่ตรงมุมทั้งสี่เป็นเจดีย์ที่มีอิทธิพลของศิลปะหริภุญไชย ล้านนา ส่วนเจดีย์ที่อยู่กึ่งกลางของด้านทั้งสี่เป็นเจดีย์ทรงปราสาทยอดแบบสุโขทัย ซึ่งมีลวดลายปูนปั้นแบบอิทธิพลศิลปะลังกา รอบ ๆ เจดีย์ประธานมีปูนปั้นรูปพระสาวกในท่าอัญชุลี เดินประทักษิณโดยรอบพระมหาธาตุ วัดศรีสวาย เดิมเป็นเทวสถานในศาสนาพราหมณ์ ลักษณะเป็นปรางค์สามยอดแบบขอม ตั้งอยู่ทางทิศใต้ของวัดมหาธาตุ มีคูน้ำล้อมรอบปรางค์สามองค์ โบราณสถานดังกล่าวนี้มีที่มาจากทรงปราสาทแบบขอม


แต่ได้รับการดัดแปลงแตกต่างจากต้นแบบ เช่นส่วนประดับของปราสาทขอมที่เรียกว่า บันแถลง กลายเป็นรูปกลีบขนุน และปูนปั้นประดับกลีบขนุนเป็นรูปครุฑยุดนาคและเทวดา ปรางค์วัดศรีสวายจึงแตกต่างจากปรางค์สมัยกรุงศรีอยุธยาซึ่งมีต้นแบบจากปรางค์ในศิลปะขอมและคล้ายคลึงแบบขอมมากกว่าปรางค์ในแบบของช่างสุโขทัย
ไปชมงานที่ศูนย์บริการนักท่องเที่ยว ของทางอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย

วัดพระพายหลวง ตั้งอยู่นอกกำแพงเมืองด้านทิศเหนือ ผังบริเวณวัดเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า มีคูน้ำล้อมรอบ ๓ ชั้น คูชั้นนอก เรียกคูแม่โจน วัดพระพายหลวงนี้ เป็นศูนย์กลางของชุมชนในระยะแรกก่อนการสถาปนาอาณาจักรสุโขทัย โบราณสถานที่มีอายุเก่าแก่ที่สุด ของวัด คือ พระปรางค์ ๓ องค์ ก่อด้วยศิลาแลง ลักษณะแผนผัง และรูปแบบ ศิลปะ เป็นเขมรแบบบายน สมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ ไป
ต่อด้วยวัดศรีชุม เป็นโบราณสถานที่ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของเมืองสุโขทัย สันนิษฐานว่าสร้างในสมัยพ่อขุนรามคำแหงในวัดปรากฏโบราณสถานขนาดใหญ่ลักษณะมณฑปรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส ประดิษฐานพระพุทธรูปปูนปั้นขนาดใหญ่เต็มมณฑป ซึ่งสันนิษฐานว่าในอดีตตัว
มณฑปน่าจะมีหลังคาคล้ายโดม ตัวมณฑปนั้นตั้งอยู่บนฐานสูง ด้านหน้าเปิดเป็นช่องเห็นพระพักตร์พระพุทธรูปงดงามแต่ไกล มีต้นมะม่วงต้นใหญ่หลายร้อยปีอยู่ข้างๆ ดูแล้วเกิดสัดส่วนสวยงามตั้งตระง่านเคียงคู่วัดศรีชุม
ไปดูรีดภงค์
วันที่ 12 ก.ค. 2552 ออกเดินทางจากจังวัดสุโขทัย
มุ่งหน้าไปจังหวัดพิษณุโลก วัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร หรือชื่อที่เรียกกันทั่วไปว่า "วัดใหญ่" ตั้งอยู่ที่ ถนนพุทธบูชา ริมฝั่งแม่น้ำน่าน ด้านทิศตะวันออก


วัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร เป็นวัดที่มีประวัติยาวนานมาตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัย มีสถาปัตยกรรม ศิลปกรรม และประติมากรรมที่งดงามยิ่ง ถือได้ว่าเป็นมรดกทางศิลปวัฒนธรรมอันล้ำค่าของเมืองพิษณุโลก พระวิหารพระพุทธชินราช เป็นวิหารทรงโรง เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธชินราช ซึ่งนับถือกันว่าเป็นพระพุทธรูปที่งดงามที่สุดองค์หนึ่งในโลก


ตัวพระวิหารสร้างมาตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัย และได้รับการบูรณะให้มีสภาพดีมาตลอดจนถึงสมัยปัจจุบัน พระวิหารหลังนี้จึงเป็นสถาปัตยกรรมสมัยกรุงสุโขทัยที่มีความสง่างามสมส่วน และยังคงสภาพสมบูรณ์ดีที่สุดแห่งหนึ่งของไทย
ไปต่อที่วัดราชบูรณะ ศิลปะและโบราณสถาน เจดีย์หลวงวัดราชบูรณะ ตั้งอยู่ทางด้านตะวันตก ติดถนนริมฝั่งแม่น้ำน่าน เป็นเจดีย์ทรงกลมขนาดใหญ่ แกนในของฐานเป็นดิน ภายนอกก่ออิฐ ฐานพระเจดีย์เป็นหน้ากระดาน ๘ เหลี่ยม ซ้อนกันขึ้นไปประมาณ ๘ ชั้น มุมฐานบนสุดมีจุลเจดีย์ประดับที่มุม ระหว่างจุลเจดีย์นี้ทำเป็นพนักระเบียงติดต่อกันโดยรอบ ส่วนตรงกลางเป็นพระเจดีย์ประธาน จากการศึกษารูปแบบพบว่า ฐานเจดีย์มีลักษณะรูปทรงศิลปะสมัยสุโขทัย จึงสันนิษฐานว่าน่าจะมีการบูรณะปฏิสังขรณ์ใหม่ในสมัยอยุธยา พระบรมสารีริกธาตุวัดราชบูรณะ กรมศิลปากรที่ ๖ จังหวัดสุโขทัย ได้เข้ามาทำการบูรณะเจดีย์หลวง (เจดีย์ใหญ่ ๙ ยอด) เจดีย์ลาย และวิหารหลวงของวัดราชบูรณะ ได้พบพระบรมสารีริกธาตุที่บริเวณคอระฆังของเจดีย์หลวง ซึ่งบรรจุอยู่ในผะอบเงินประดับทอง ๘ เหลี่ยม จำนวน ๒๓ องค์ และบรรจุภายในเจดีย์สำริดจำลองจำนวน ๑ องค์ ซึ่งเป็นพระบรมสารีริกธาตุที่ใหญ่ที่สุด (ข้อสันนิษฐานของนักโบราณคดี)

หลังจากที่ได้เดินดูวัดรอบๆแล้ว ก็ได้เดินไปกินก๋วยเตี๋ยวห้อยขา นับว่าร้านนี้มีชื่อเสียงด้านการจัดที่นั่งร้านให้นั่งกินก่วยเตี๋ยวแบบห้อยขา เลยเป็นความแปลก
สร้างชื่อให้ร้านมีชื่อเสียง หลังจากนั้นก็แยกย้ายซื้อของ เตรีมตัวกลับกรุงเทพสามโมง เดินทางกลับ แวะซื้อของฝากอร่อยๆที่นครสวรรค์แล้วเดินทางกลับสู่ กทม. ถึงลาดกระบังสี่ทุ่ม

จากการที่ได้ไปทริปครั้งนี้ เปรียบเสมือนว่าเราได้เปิดโลกทัศน์ให้กว้างขึ้นนอกเหนือจากที่มีอยู่ในห้องเรียน สร้างเสริมประสบการณ์โดยการออกไปหาความรู้ในรูปแบบต่างๆมากมายที่รอเราอยู่ ถือว่าเป็นประการณ์ที่ดีของชีวิตอีกครั้งหนึ่งที่ได้ศึกษาหาความรู้ในสิ่งต่างๆที่เราสามารถนำความรู้ที่เราไปประสบมานั้น นำมาใช้ประโยชน์ได้หลากหลาย เราไปในฐานะนักศึกษาไปทัศนศึกษา ทุกสิ่งที่เราพบเห็นนั้นเราควรศึกษา อย่างเช่นสิ่งแวดล้อม สถาปัตยกรรมรูปแบบต่างๆ โบราณสถาน บ้านโบราณ ชุมชนและอื่นๆ สิ่งเหล่านี้เป็นแหล่งข้อมูลสำคัญที่เราควรตระหนักและนำความรู้ที่บรรพบุรุษเรานั้นได้สั่งสมมาเป็นเวลาช้านาน มาใช้ประโยชน์กับชีวิตประจำวัน ทางด้านการเรียน การทำงาน การออกแบบที่เกี่ยวเนื่องกับสถาปัตยกรรม นับว่ามีประโยชน์ในหลายๆด้านมากมาย การเดินทางครั้งนี้ได้ทั้งความรู้ ประสบการณ์ความประทับใจจากเพื่อนๆ ความมีน้ำใจของเพื่อนๆ และอาจารย์ทุกๆท่านที่คอยชี้แนะแนวทางประสบการณ์ของสิ่งที่ไม่เคยสัมผัส วัฒนธรรม ประเพณี เป็นสิ่งที่มีประโยชน์กับการเรียนและชีวิตของตัวกระผมเองเป็นอย่างมาก รักอาจารย์จิ๋วมาก ท่านได้เสียสละให้ความรู้กับเราเป็นอย่างมากทั้งแรงกายแรงใจ เห็นความเอาใจใส่อยากให้เราได้เรียนรู้ในสิ่งที่ท่านรับรู้มา สิ่งสำคัญ คุณค่าของงานสถาปัตยกรรม วิถีชีวิตความเป็นพื้นถิ่นไทย ถ่ายทอดทุกสิ่งทุกอย่างเพื่อนักศึกษาของท่าน แม้กระทั้งเรื่องอาหารการกิน ท่านก็ยังคอยชี้แนะชักชวนให้เรารู้จักในสิ่งที่เราไม่เคยเห็นไม่รู้จักมาก่อน การใช้ชีวิตให้ถูกต้องเหมาะสม นับว่าเราโชคดีเหลือเกินกับการที่ได้ไปทริปและได้เรียนคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ลาดกระบังแห่งนี้ และจะไม่ลืมเรื่องดีๆที่เกิดขึ้นระหว่างไปทริป ความโอบอ้อมอารีย์ของชาวบ้านที่เราไม่ค่อยได้เห็นแล้วในปัจจุบัน ความมีน้ำใจที่ชาวบ้านได้ให้เรามาชาวบ้านให้เรามากกว่าที่เราไปถ่ายรูป เราได้คุณค่าได้ความรู้จากชาวบ้านเราควรเห็นบุญคุณหรือแหล่งความรู้ทุกที่ที่เราได้ไป ควรระลึกถึงบุญคุณที่พวกเขานั้นได้ให้กับเราไว้ด้วย และนำสิ่งเหล่านั้นมาใช้ให้เกิดประโยชน์มากที่สุด


1 comment:

  1. บังเอิญเข้ามาอย่างไม่ตั้งใจ บทความมีประโยชน์มากครับ..ผมเองก็จบถาปัดลาดกระบังเหมือนกัน

    ReplyDelete