Sunday, October 11, 2009

บทสัมภาษณ์ สถาปนิกพี่วรวรรธน์ มุสิกะปาน

บทสัมภาษณ์ สถาปนิกรุ่นพี่ที่จบการศีกษาจาก สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง


ชื่อ นาย วรวรรธน์ มุสิกะปาน
อายุ 25 ปี
ที่อยู่ 39/502 ม.เนเบอร์โฮม ถ.สุขาภิบาล5 แขวง คลองสามวาตะวันตก เขต คลองสามวา กรุงเทพ 10510
งานอดิเรก อ่านหนังสือ
กีฬาที่ชอบ ฟุตบอล
ความไฝ่ฝัน ท่องเที่ยวรอบโลก
ประวัติการศึกษา
ระดับมัธยม
โรงเรียน กำแพงเพชรพิทยาคม
ระดับอุดมศึกษา สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง

เหตุผลที่เลือกเรียนคณะสถาปัตย์
ในตอนแรกยังไม่ทราบว่าคณะนี้คืออะไร เรียนแล้วจะไปทำไร จึงได้ทำการศึกษาจากหนังสือ ทำให้เราได้รู้ว่า คณะนี้ได้สอนให้คนเป็นนักคิด ไม่ได้วาดรูปอย่างเดียวเหมือนที่คนอื่นๆเค้าคิดกัน มันมีอะไรมากกว่านั้น เพราะการคิดเป็นสิ่งที่สำคัญเป็นจุดเริ่มต้นของงานดีไซน์ทั้งหมด ซึ่งในคณะอื่นไม่มีสอน

สิ่งที่ได้รับจากการเรียนที่ลาดกระบัง
ที่ลาดกระบังดีมาก สังคมเด็กที่นู่นค่อนข้างต่างจากที่อื่นเท่าที่ฟังมาจากเพื่อนๆที่เรียนที่อื่นเป็นกันเอง เพื่อนก็รักกันมากไม่มีการแบ่งชนชั้น แต่บางทีก็มีส่วนไม่ดีเหมือนกันที่บางทีอาจพากันโดดเรียนไปบ้าง อีกอย่างบางทีเราอาจอยู่ไกลเมืองไปหน่อยทำให้เด็กขาดความกระตือรือร้นในการเรียน การอยากเห็นงานดีๆ จริงๆในกรุงเทพก็มีงานดีๆหลายงาน อยากให้อาจารย์พาลูกศิษย์ไปดู ตอนนี้ยังนึกเสียดายอยู่ว่าเราขาดความกระตือรือร้นในการเรียนในสมัยที่ยังเรียนอยู่ ต่างจากตอนทำงานมาก ที่ต้องศึกษาตลอดไม่งั้นก็คงตาม trend ไม่ทันซึ่งมันสำคัญมากต่อการเป็น Designer

สถานที่ทำงาน
บ.Archiplan
ตำแหน่งงาน
Project Designer

ประวัติการทำงาน ผลงานที่ออกแบบ ความถนัดและสิ่งที่ทำในสายงาน
Aka Japanese Restaurant
Genius Planet Central World Plaza
Mind Room TK park
Central Rama9

สิ่งที่ชอบในการทำงานคือการ research การค้นหาอะไรใหม่เพื่อมาใช้ในงาน design ของเราแต่พอทำไปจริงๆทำให้รู้ว่าอะไรที่เราคิดว่าเราคิดได้จริงๆแล้ว มันก็เคยมีคนคิดได้ มันเป็นเรื่องของการรับรู้ที่ใครจะนึก และสังเกตุเห็นและหยิบไปใช้ได้ก่อนกัน ไม่มีผิดไม่มีถูกอยู่ที่ใครจะกลั่นและนำไปใช้ได้ดีกว่ากัน


อุปสรรคในการทำงาน
เวลาเป็นสิ่งสำคัญที่จะทำงานออกมาให้ได้ดี
แต่ถ้าเราคิดงานออกมาได้ดีเท่าไหร่ ลูกค้าก็เป็นปัจจัยหลักอยู่ดีว่าเราจะทำให้ลูกค้าคล้อยตามและยอมควักเงินออกจากกระเป๋าได้เท่าไหร่ เป็นสิ่งที่ยากเหมือนกันที่จะทำให้ลูกค้าเชื่อในงาน Design ของเรา
มุมมองต่อวิชาชีพสถาปัตย์ และสถาปนิกในเมืองไทยในปัจจุบัน
เมืองไทยให้โอกาสสถาปนิกน้อยมากทั้งในแง่ ค่าตอบแทนและฐานะทางสังคมซึ่งต่างจากเมืองนอก เราที่ให้ค่าเรามากอยากให้เมืองไทยเข้าใจและเปิดรับอาชีพสถาปนิกมากกว่านี้ อยากให้คนไทยเข้าใจว่าอาชีพนี้คือนักคิด ไม่ใช่ขีดเขียนไปวันๆ ทุกๆอย่างที่ทำเกิดจากความตั้งใจในการคิด

คติประจำใจ
Design=Research

อยากจะฝากอะไรถึงน้องๆ ที่ถาปัตย์ลาดกระบังบ้าง
ชีวิตในวัยเรียนไม่เหมือนตอนทำงานใช้ชีวิตและศึกษางานdesignให้เยอะ

Saturday, October 10, 2009

บทสัมภาษณ์สถาปนิกพี่สุธี ลิมมณี


บทสัมภาษณ์ สถาปนิกรุ่นพี่ที่จบการศึกษาจาก
สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง



ชื่อ สุธี ลิมมณี อายุ 29 ปี
ที่อยู่ 111/125 ซ.โพธิ์แก้ว นวมินทร์ คลองกุ่ม บึงกุ่ม กทม. 10230
งานอดิเรก ดูหนัง
กีฬาที่ชอบ ฟุตบอล
ความไฝ่ฝัน เป็นเจ้าของธุกิจ
ประวัติการศึกษา
มัธยมศึกษา
โรงเรียน สตรีวิท 2
ปริญญาตรี สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง


เหตุผลที่เลือกเรียนคณะสถาปัตย์
อยากสร้างบ้านตัวเอง อยากเรียนรู้เกี่ยวกับการสร้างอาคาร สงสัยอยากเรียนรู้ขั้นตอนการสร้างอาคารต่างๆ ว่ามีขั้นตอนการก่อสร้างอย่างไรบ้าง ที่สำคัญชอบวาดรูปด้วย


สิ่งที่ได้รับจากการเรียนที่ลาดกระบัง
ความรู้และมิตรภาพที่ลาดกระบังสอนให้มีความรับผิดชอบ เป็นสิ่งสำคัญที่ได้รับจากที่นี่ การสอนของลาดกระบัง เน้นการปฏิบัติ การส่งเสริมการเรียนรู้จากสถานที่จริง การออกไปทัศนศึกษานอกสถานที่
มิตรภาพระหว่างเพื่อน การที่ได้เรียนที่นี้ รู้สึกว่า เราอยู่กันแบบครอบครัวมีการพึ่งพาอาศัยกัน ช่วยกันทำงานระหว่างสายรหัส ไม่ทอดทิ้งกัน หรือแยกตัวออกมาเป็นตัวใครตัวมัน คอยให้คำปรึกษากันได้ทุกเรื่อง อาจารย์ทุกท่านที่พร้อมทั้งทางด้านความรู้ ท่านเต็มที่จะถ่ายทอดวิชาความรู้ ให้เราอย่างเต็มที่ อาจารย์ทุกท่านก็เป็นกันเองดีกับนักศึกษาคอยชี้แนะแนวทางการศึกษาเล่าเรียน กวดขันเรื่องความรับผิดชอบ สภาพแวดล้อมที่ดี ในมหาลัยประทับใจหลายอย่างมีทั้งกิจกรรมต่างๆที่ได้ทำ เปรียบเสมือนเป็นประสบการณ์ที่สั่งสม และนำมาประยุกต์ใช้กกับการทำงานจริงได้ การทำงานเป็นทีมนี้ก็สำคัญ

สถานที่ทำงาน บริษัทคอนทัวร์
ตำแหน่งงาน สถาปนิกออกแบบ




ประวัติการทำงาน ผลงานที่ออกแบบ ความถนัดและสิ่งที่ทำในสายงาน
บริษัทอาเชน 2 ปี งานที่ออกแบบ โรงเรียน ออฟฟิต บ้าน หอพัก คอนโด ออกแบบ
บริษัทคอนทัวร์2ปีครึ่ง ชอปปิ้งมอลล์ อาคารพานิชย์ ออกแบบ


อุปสรรคในการทำงาน
ตัวแทนเจ้าของ (PM.)

ผลงานการออกแบบที่ได้ร่วมกับบริษัทคอนทัวร์

Project
J Avenue




มุมมองต่อวิชาชีพสถาปัตย์ และสถาปนิกในเมืองไทยในปัจจุบัน
เหนื่อย อึด ทน สู้ ต้องเกิดกับชีวิตการทำงานจริงๆ หากเข้าใจ เราก็จะสามารถ เป็นสถาปนิกที่ดีได้ เพื่อจะได้ใช้ความสามารถไปพัฒนาประเทศได้อย่างเต็มที่ เชื่อว่าคนไทยมีความสามารถ สามารถแสดงศักยภาพ ความสามารถสู้ต่างชาติได้อย่างสบาย เราต้องรักในสายวิชาชีพ และพัฒนาต่อยอดตนเองอยู่เสมอด้วย เพราะความรู้ทางด้านสถาปัตย์นั้นมันมีการพัฒนาเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา อย่าหยุดนิ่ง

คติประจำใจ
เชื่อในสิ่งที่เฮ็ด เฮ็ดในสิ่งที่เชื่อ
อยากให้ ตั้งใจทำในสิ่งที่เราต้องการ ในสิ่งที่ถูกต้อง ดังเช่นการออกแบบ การประกอบอาชีพในสายงาน เราต้องมั่นใจกับการทำงาน ตั้งใจทำงานในสิ่งๆ นั้นที่่ได้รับมอบหมายอย่างดีที่สุด เชื่อว่า การกระทำดีๆ จะเห็นผล ไม่ช้าก็เร็ว หาก เราไม่มีจุดมุ่งหมายในหารกระทำ ไม่มีความเชื่อมัน เราก็จะประสบความสำเร็จได้ยาก ในภาวะสังคมปัจจุบันนี้มีแต่การแข่งขัน ต้องแสดงศักยภาพที่เรามามาสู้กับแรงพักดันรอบด้าน


อยากจะฝากอะไรถึงน้องๆ ที่สถาปัตย์ลาดกระบังบ้าง
หมั่นศึกษางานบ่อยๆทั่งงานที่กำลังก่อสร้างและงานที่สร้างเสร็จแล้วเพื่อมาต่อยอดทางความคิด อย่านั่งอยู่แต่ในห้อง อันตราย เพราะสถาปนิกไม่ใช่มีแค่การเขียนแบบ ขอให้น้องๆ ตั้งใจเรียนและสู้ต่อไป



สิ่งที่ได้จากการสัมภาษณ์สถาปนิกรุ่นพี่ที่จบไปทำงาน

ทำให้ตระหนักถึงการเตรียมตัวที่จะจบไปทำงานจริงๆ ชีวิตการทำงานและพื้นฐานของการเตรียมตัวที่ดี และข้อคิด ที่เป็นหลักการที่ไม่ควรละทิ้ง เพราะชีวิตเราต้องเรียนรู้อะไรอีกมากต้องมั่นไฝ่รู้อยู่เสมอ ดังที่พี่ สุธีได้บอกและให้สัมภาษณ์มา



จากพี่สุธี ลิมมณี สถาปนิก คอนทัวร์

Thursday, July 23, 2009

ทริปภาคปฏิบัติสถาปัตยกรรมวันที่ 7-12ก.ค. 2552

วันที่ 7 ก.ค. 2552 จังหวัดลำปาง
เช้าวันนี้ได้เก็บข้าวของก่อนเดินทางไปอีกจังหวัดนั้นก็คือจังหวัดเชียงใหม่ กินข้าวกันเสร็จเรียบร้อยแล้วก็ออกเดินทาง ไปดูงานที่วัดพระแก้วดอนเต้าสุชาดาราม พระบรมธาตุดอนเต้า วัดพระแก้วดอนเต้าสุชาดาราม พระอารามหลวงชั้นตรีชนิดสามัญ ตั้งอยู่ที่ ตำบลเวียงเหนือ อำเภอเมืองลำปาง จังหวัดลำปาง เป็นวัดที่เก่าแก่และสวยงามมีอายุนับพันปี เคยเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร (พระแก้วมรกต) เหตุที่วัดนี้ได้ชื่อว่าวัดพระแก้วดอนเต้า มีตำนานกล่าวว่า นางสุชาดา ได้พบแก้วมรกตในแตงโม (หมากเต้า) และนำมาถวายเจ้าอาวาส เพื่อแกะสลักเป็นพระพุทธรูป ซึ่งก็คือ พระแก้วดอนเต้า ซึ่งต่อมาได้รับการอัญเชิญไปประดิษฐานที่วัดพระธาตุลำปางหลวง เนื่องจากวัดพระแก้วดอนเต้า และ วัดสุชาดาราม นั้นร้างลง แต่มีการสันนิษฐานเพิ่มว่า น่าจะเป็นเพราะย่านนี้เป็นสวนหมากเต้า และเป็นที่ดอน จึงชื่อพระธาตุว่า พระบรมธาตุดอนเต้า และชื่อวัดว่า วัดพระธาตุดอนเต้า และต่อมาเมื่อมีการประดิษฐานพระแก้วดอนเต้า จึงเปลี่ยนชื่อเป็น วัดพระแก้วดอนเต้า วัดพระแก้วดอนเต้า เป็นที่ตั้งของพระบรมธาตุดอนเต้า ซึ่งเป็นพระเจดีย์องค์ใหญ่ บรรจุพระเกศาธาตุของพระพุทธเจ้า

มณฑปศิลปะพม่า ลักษณะงดงาม ประดิษฐานพระพุทธรูปองค์ใหญ่ และวิหารประดิษฐานพระพุทธไสยาสน์ ซึ่งมีอายุเก่าแก่ พอๆกับการสร้างวัดนี้ นอกจากนี้ยังมีวิหารหลวงพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติล้านนาและวิหารพระเจ้าทองทิพย์
ไปต่อที่วัดปงสนุก วิหารพระเจ้าพันองค์จึงเปรียบเสมือนส่วนผสมของศิลปะล้านนา และสิบสองปันนา ซึ่งมีความลงตัวในทุกส่วนสัด โดยในการบูรณะช่างได้พยายามรักษาชิ้นส่วนต่างๆ ที่เป็นของเดิมเอาไว้ให้มากที่สุด


ทั้งลายปูนปั้น ภาพเขียนสี หรือลวดลายฉลุต่างๆ ห้องกลางวิหารประดิษฐานพระพุทธรูป 4 องค์ หันพระพักตร์ออกสี่ทิศ ประทับใต้โพธิพฤกษ์ ทำด้วยตะกั่ว ด้านล่างของฐานชุกชีประดับลวดลายรูปช้าง นาค สิงห์ นกอินทรี ที่น่าชมอีกอย่าง คือ "ห้องแสดงศิลปวัตถุ" ที่อยู่ด้านข้างวิหารพระเจ้าพันองค์ เป็นศาลาชั้นเดียวขนานไปกับกำแพงบนม่อนดอย จัดแสดงโบราณวัตถุดั้งเดิมของวัดราว 4-5 ชิ้น ได้แก่ อาสนะ สัตตภัณฑ์ ขันดอก แผงพระไม้ นอกจากนี้ ยังมีนิทรรศการภาพถ่ายก่อน และหลังการบูรณะที่แสดงถึงความตั้งใจในการบูรณะในทุกรายละเอียดไว้ให้ชมอีกด้วย ด้วยความร่วมแรงร่วมใจของคนในชุมชนบ้านปงสนุกในการฟื้นฟูองค์ความรู้ด้านสถาปัตยกรรมโบราณ และเทคนิคการตกแต่งแบบดั้งเดิมที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวทำให้วัดวัดปงสนุกเหนือได้รับรางวัล Award of Merit ในระดับดี (Awards of Merit) จากองค์การยูเนสโก ที่น่าภาคภูมิใจสุดๆ ก็คือ รางวัลนี้ถือเป็น "รางวัลแรก" ของ "วัดในประเทศไทย" ที่ได้รับการยกย่องในด้านการอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมจากองค์การยูเนสโกอีกด้วย วัดศรีรองเมือง ทานอาหารกันตอนเที่ยง

วัดศรีรองเมือง เป็นวัดที่มีความสำคัญทั้งทางด้านประวัติศาสตร์ มีรูปแบบสถาปัตยกรรมที่โดดเด่น มีรูปลักษณ์การก่อสร้างในรูปแบบของพม่าที่สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2448 ในสมัยที่ลำปางเป็นศูนย์กลางการค้าขาย การทำป่าไม้ โดยคหบดีที่รับจ้างทำไม้ให้ฝรั่งชาติอังกฤษ ที่ได้สัมปทานการทำไม้จากรัฐบาลไทยแทบจะทั่วภาคเหนือ ซึ่งพ่อเฒ่าอินต๊ะ ศรีรองเมือง ร่วมกับชาวบ้านบริจาคที่ดิน จัดหาวัตถุมาก่อสร้างจนแล้วเสร็จ วัดจึงตั้งชื่อตามนามสกุลของผู้ริ่เริ่มสร้างว่า ศรีรองเมือง (นามสกุลมีมาในรัชกาลที่ 6 หลัง พ.ศ. 2453 แล้ว วิหารจึงมีอายุร้อยปี เมื่อ พ.ศ. 2548 ลักษณะสถาปัตยกรรมตัววิหารสร้างด้วยไม้สัก หลังคาจั่วซ้อนกันเป็นซุ้มเรือนยอด เป็นกลุ่มของชั้นหลังคา สวยงามตามแบบศิลปะพม่า มีลายฉลุบนสังกะสี ใช้ประดับบนจั่ว และเชิงชายหลังคา เพิ่มความอ่อนช้อย และสง่างามให้วิหาร เสาไม้ตกแต่งด้วยศิลปะการปั้นรักเป็นลวดลายเครือดอกไม้ ประดับด้วยกระจกสี เฉพาะเสาหน้าพระประธาน จะปั้นรักเป็นรูปเทพารักษ์ คน ยักษ์ วานรและสัตว์ป่าให้เหมือนในป่าหินมพานต์ หลังจากที่เสร็จแล้วก้อออกเดินทางไปจังหวัดลำพูน ไปแวะที่หมู่บ้านจังหวัดลำพูน สถาปัตยกรรมพื้นถิ่นของชาวลำพูน เป็นบ้านยองในสมัยโบราณหลังคากระเบื้องเป็นแบบหางว่าว สร้างด้วยไม้ทั้งหลังโดยบ้านหลังดังกล่าวได้สืบต่อกันมาหลายรุ่นแล้ว ใต้ถุนบ้านมีกระเบื้องวางอยู่ชาวบ้านจะซื้อมาเก็บไว้เพื่อเอาไว้ สร้างฉางเก็บของใต้ถุน

ซ่อมแซมกระเบื้องอันที่เก่าหรือว่าแตกหักเสื่อมสภาพไป บ้านหลังนี้มีทางขึ้นสองทางหน้าบ้านและหลังบ้านเหมือนเป็นทางเข้ารอง มียุ้งเก็บของอยู่บนบ้าน เป็นห้องหนึ่งห้องขนาดประมาณ 24 ตารางเมตร เอาไว้ใช้เก็บเกี่ยวผลผลิตทางการเกษตรแต่ยุ้งเก็บข้าวจะไม่มีบันไดขึ้นนเพราะไม่ค่อยได้ใช้แล้ว เข้าไปสำรวจภายในตัวบ้านมีห้องครัวอยู่บนบ้าน มีห้องสุขาแบบนังยอง แต่ไม่ได้เป็นห้องปิดมิดชิด เป็นส้วมแบบโบราณที่หาดูได้ยาก แล้วเดินไปบ้านยองโบราณ บ้านมะกอก เป็นบ้านของคุณยาย สวนต้นไม้หน้าบ้านสวยงาม ยกใต้ถุนสูง เป็นบ้านโบราณ ทำด้วยไม้ทั้งหลัง มีโต๊ะรับแขกอยู่ใต้ถุนบ้าน โอ่งดินเผาสำหรับรับแขกหน้าบ้านบ้านคุณยายมีขนาดใหญ่ คุณยายเป็นแมวมองส่งนางงามเข้าประกวดอยู่หลายงาน คุณยายชอบงานการประกวด ชอบหาสาวงามมาฝึกสอนเดิน ส่งเข้าประกวดเป็นประจำ บ้านหลังนี้ ประกอบด้วยห้องต่างๆหลายห้องห้องนอน ห้องพระ ห้องนอนขนาดเล็ก ขนาดกลาง ได้ศึกษาการวางของโครงสร้างหลังคาของบ้านคุณยาย การแห้ปํญหาของรางน้ำ ประตูบานพับเพื่อปิดเปิด พื้นที่สำหรับกำหนดพื้นที่ภายในบ้าน กรณีอยากได้พื้นที่มากขึ้นก็สามารถเอาประตูออกได้ พื้นที่ภายในบ้านก็จะมากขึ้น หลงัจากนั้นกHได้นั่งคุยกับคุณยายคุณยายก็เล่าให้ฟังเกี่ยวกับครอบครัว ยายอารมณ์ดีมาก คุยเก่ง ยายอยู่คนเดียวยาย ก็ยังแข็งแรง ยายจบแค่ประถมสี่ เท่านั้น ยายมีพี่น้อง น้องของยายมาเยี่ยมเสมอ ชวนไปเที่ยวบ่อยๆที่บ้านของน้อง ยายก็ไม่ต้องทำงานหนักทุกวันนี้มีคนคอยทำงานบ้านให้บ้าง ยายก็คุยเรื่องการประกวดนางงามให้ฟังน่าสนใจ



ยายคุยเรื่องอดีตให้ฟังดูยายมีความสุขมาก น่าเสียดายที่วันนั้นเราไปบ้านยายแค่ชั่วโมงเดียวเอง แต่ก็ประทับใจเป็นอย่างมากที่ได้ไปบ้านของยาย เพราะเคยเห็นยายออกทีวี ครั้งนึง ตกเย็น เตรียมตัวทานอาหาร กินข้าวที่จังหวัดลำพูน เป็นเซ็ตอาหารแบบขันโตกเป็นอาหารเหนือทั้งหมด มีอาหารแปลกๆ ที่เราไม่เคยกินเยอะมาก วันนี้อาจารย์เลี้ยง อาหารได้เร็วและอร่อย ได้ลองอาหารที่ไม่ค่อยลิ้มรสมากมาย ประสบการณ์ที่ดีอีก

แบบที่ชอบ หลังจากนั้นก็เดินทาง ไปจังหวัดเชียงใหม่ ใช้เวลาเดินทาง สี่ชั่วโมง ก็ถึงจังหวัดเชียงใหม่เราได้เข้าพักที่ สนามกีฬา 700 ปี จังหวัดเชียงใหม่ เป็นห้องจุสิบห้าคนต่อห้อง นอนกันเป็นห้องใหญ่


วันที่ 8 ก.ค. 2552 จังหวัดเชียงใหม่

เริ่มออกเดินทางแปดโมงเช้าเป็นทริปเชียงใหม่ครั้งแรกวันแรก ไปกินข้าวเช้ากันที่ตัวเมืองเชียงใหม่ตรงข้าม มหาลัยเชียงใหม่ แล้วออกเดินทางไปที่วัดพันเตา โครงสร้างสถาปัตยกรรมของวิหารวัดพันเตา ตัวอาคาร เนื่องจากสถาปัตยกรรมแบบเชียงแสนส่วนใหญ่ใช้ไม้เป็นวัสดุหลัก มีโครงสร้างแบบกรอบยึดมุมมาก

เสาและฝาทุกส่วนเป็นไม้โดยเฉพาะฝามีแบบวิธีการสร้างพิเศษคล้ายกับฝาปะกนของฝาไม้สมัยอยุธยา แต่มีขนาดตัวไม้ที่แน่นหนามั่นคงกว่า คือเป็นกรอบไม้ยึดยันรูปสี่เหลี่ยม อัดช่องภายในด้วยแผ่นไม้ลูกฟัก สัดส่วนใหญ่และหนากว่าฝาปะกน การทำฝาแบบทางเหนือนั้น ใช้ตัวไม้โครงเป็นช่องตารางยึดติดกับช่วงโครงสร้างก่อน แล้วจึงบรรจุแผ่นลูกฟักภายหลัง ฝาแบบนี้แข็งแรงและมั่นคง เพราะต้องทำหน้าที่เป็นตัวรับน้ำหนักของส่วนบนอาคารด้วย การทำฝาผนังของวิหารวัดพันเตาก็เป็นลักษณะนี้ โดยเฉพาะวิหารนี้ฝาผนังด้านข้างจะยาวตลอดเป็นแนวเดียวกัน




ไม่มีการย่อมุขซึ่งเป็นที่นิยมมากทางภาคเหนือคือ การย่อมุมตรงมุขหน้าวิหารทั้งๆ ที่เป็นวิหารขนาดใหญ่มาก การสร้างวิหารนี้ช่างทางเหนือสามารถแก้ปัญหาที่ความรู้สึกหนักทึบของฝาผนังด้านข้างที่มีขนาดใหญ่มากๆ นี้ได้ โดยอาศัยการแบ่งพื้นที่ของผนังด้วยกรอบไม้ยึดยันรูปสี่เหลี่ยมดังที่กล่าวมาแล้ว พร้อมกันนั้นก็ใช้ประโยชน์จากฝาผนังแบบนี้ ให้เป็นตัวช่วยรับน้ำหนักจากหลังคาที่มีขนาดใหญ่ตามขนาดวิหาร ไปต่อกันที่โรงแรม ยูเชียงใหม่ โรงแรม ยู เชียงใหม่ โรงแรมเปิดใหม่สไตล์บูติกล้านนา ตั้งอยู่ติดกับถนนคนเดินเชียงใหม่วันอาทิตย์ (ถนนราชดำเนิน) บริเวณสี่แยกกลางเวียง เป็นโรงแรมที่นำเอกลักษณ์ความงามทางสถาปัตยกรรมและรูปแบบ มาประยุกต์ออกแบบโรงแรมได้อย่าลงตัว แล้วได้เดินทางออกนอกตัวเมืองเชียงใหม่ไปที่ วัดทุ่งอ้อ ซึ่งเป็นรูปแบบของศิลปะที่สืบทอดต่อจากเวียงกุมกาม ทำให้แน่ใจได้ว่าวัดแห่งนี้มีอายุ ไล่เลี่ยกับเมืองเชียงใหม่ วิหารกับวัดเป็นสิ่งที่อยู่คู่กันมาแต่ครั้งโบราณ เนื่องจากวิหารเป็นสถานที่ใช้ สำหรับประกอบพิธีกรรมทางศาสนาของทั้งพระสงฆ์และฆารวาส นอกจากนั้นตาม หมู่บ้านต่าง ๆ จะนิยมใช้วิหารของวัดเป็นสถานที่ประชุมและจัดกิจกรรมต่าง ๆ ของ หมู่บ้านด้วยเช่นกัน วิหารของวัดอื่น ๆ ส่วนใหญ่จะมีความกว้างขวางใหญ่โตเพื่อสามารถ รองรับผู้คนที่มาทำบุญได้จำนวนมาก แต่ยังมีวิหารอีกแห่งหนึ่งที่มีขนาดเล็กแต่ทรงคุณค่า ด้านศิลปะและมีอายุเก่าแก่หลายร้อยปี นั่นคือพระวิหารวัดพระทุ่งอ้อ ความโดดเด่นและสวยงามของพระวิหารอยู่ที่การประกอบไม้โดยไม่ใช้ตะปูทั้ง หลัง เป็นวิหารก่ออิฐถือปูน และใช้ไม้สักเกือบทั้งหลังสำหรับการก่อสร้าง ซึ่งจะหาดูได้ ยากตามวัดโดยทั่วไป ดังนั้นตัวพระวิหารของวัดทุ่งอ้อจึงมีขนาดเล็กกว่าวิหารทั่วไป



คือ จุคนได้ประมาณ 50-60 คน ส่วนองค์พระประธานของวิหารนั้น เป็นศิลปะผสมระหว่าง พม่าและล้านนา สันนิษฐานว่าในสมัยโบราณบริเวณแถบนี้ได้มีการสู้รบระหว่างล้านนา กับพม่าบริเวณ และพม่าได้ยึดวัดนี้ไว้ จึงทำให้วัดมีศิลปะของพม่าผสมอยู่ เดินทางเยี่ยมชม วัดอินทราวาศ ตั้งอยู่ ตั้งอยู่ที่บ้านต้นแกว๋น ต.หนองควาย อ.หางดงเป็นวัดเก่าแก่ที่มีลักษณะงดงามมาก สิ่งที่น่าสนใจ คือศาลาจัตุรมุขซึ่งพบเพียงหลังเดียวในภาคเหนือ นอกจากนี้ ศิลปกรรมล้านนาดั้งเดิมภายในวัดนี้ยังจัดว่าเป็นต้นแบบที่สมบูรณ์และมีคุณค่ามาก เพื่อเป็นสถานที่หยุดพักขบวนแห่พระธาตุศรีจอมทอง จากอำเภอจอมทอง มายัง เมืองเชียงใหม่ ให้ประชาชนแถบนี้ได้มาบูชาและสรงน้ำพระธาตุ แล้วจึงอัญเชิญต่อไปยังเมืองเชียงใหม่ เพื่อให้เจ้าผู้ครองนคร และประชาชนในเมืองเชียงใหม่สรงน้ำบูชาอันเป็นประเพณีทุกปี หลังจากนั้นเดินทางไปโรงแรมราชมังคลา ราชมังคลา เชียงใหม่ (Rachamankha Chiangmai) เกิดขึ้นจากความรัก และหลงใหลในศิลปวัฒนธรรมล้านนา ผสมผสานกับศิลปะจีนโบราณ เพื่อให้ผู้ที่มาเยือนสามารถเข้าถึงวัฒนธรรมล้านนาได้อย่างแท้จริง วัสดุที่ตกแต่งภายในห้องเป็นศิลปะล้านนานำเข้ามาจากจีน ลาว และพม่า


วันที่ 9 ก.ค. 2552 เชียงใหม่ ไปกินข้าวเช้าที่มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เก็บของออกจากสนามกีฬา 700 ปีแล้วหลังจากนั้นได้ไป ศูนย์ส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ บ้านโบราณจของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยมีบ้านโบราณอยู่เรียงรายมีให้เลือกชมหลายประเภท เป็นบ้านไม้ที่ได้ขออนุรักษ์เอาไว้มาเก็บแสดง ได้ทำการศึกษาเรื่องของรูปแบบการออกแบบเรือนไทยสมัยก่อน การใช้ไม้ก่อสร้างในรูปแบบต่างๆ ที่เป็นประสบการณ์ที่เรายังไม่เคยเห็น มีการสร้างกระท่อมหลังเล็กๆ ก่อนเข้าสู่ศูนย์ส่งเสริมศิละวัฒนธรรม ยังคงเอกลักษณ์ความเป็นพื้นบ้าน พื้นถิ่น สร้างบรรยากาศด้วย การปลูกต้นไม้น้อยใหญ่ รอบๆ ตัวโครงการ คล้ายๆกกับเป็นหมู่บ้านจำลองหมู่บ้านหนึ่งเลยก็ว่าได้ มีคนดูแลศูนย์นี้อยู่ด้วยคอยดูแล ให้ความรู้นักท่องเที่ยว ได้เห็นเครื่องใช้ไม้สอย เช่นโอ่งน้ำดินเผาเล็กๆ ข้างล่างใต้ถุนของแต่ละหลังมีประโยชน์ใช้นั่งพักผ่อนมีตะแครนั่งเล่นได้ นอกจากบ้านยังมียุ้งข้าว เอาไว้เก็บผลผลิตของชาวบ้าน ก็เป็นตัวอย่างยุ้งข้าวที่ได้เข้าชม บ้านบางหลังใต้ถุนอาจจะไม่สูงมากนัก เน้นยกพื้นสูงเมตรกว่าๆ ได้ศึกษาการใช้วัสดุของบ้านที่ได้ชม ว่าประกอบด้วยอะไรบ้าง เช่นไม้ เสาไม้ชนิดของไม้
กระเบื้องดินเผาที่ใช้มุงหลังคาก็เป็นเอกลักษณ์อย่างหนึ่งที่ได้ชม มีเกวียน มีการเก็บเครื่องมือหาปลาไว้ให้ชม แสดงให้เห็นถึงวิถีชีวิตของคนพื้นถิ่นนั้นๆได้เป็นอย่างดี มีการจัดสวนที่สวยงาม สร้างบรรยากาศให้บ้านดูร่มรื่น หลังจากที่เยี่ยมชมเสร็จแล้วได้เดินทางออกจากจังหวัดชียงใหม่ไปสุ่จังหวัดแพร่

ได้เข้าชม หมู่บ้านแม่จอกนอก ดูวิถีชีวิตของชาวบ้านที่จังหวัดแพร่ ชาวบ้านทำเกษตรกรรมกันส่วนใหญ่ บ้านที่กหมู่บ้านนี้ยังคงใช้วัสดุในการสร้างบ้านที่ยังใหม่มากนำมาสร้างบ้าน อย่างเช่นหลังคาของบางหลังนั้นยังคงมุงแฝกอยู่เลย ชาวบ้านหาวัตถุดิบได้จากท้องถิ่นของตนเอง ลักษณะพื้นที่ของหมู่บ้านเป็นเนิน slope ส่วนมาก การสร้างบ้านสูงต่ำจะไม่เท่ากัน
ทำให้ดูแล้วน่าสนใจ สวยงามมีสเปสต่างๆที่น่าสนใจ มีประโยชน์ทางด้านการออกแบบ ส่วนมากบ้านจะทำด้วยไม้ ยกใต้ถุนสูง หมุ่บ้านนี้มีความอุดมสมบูรณ์อยู่ มีลำธารน้ำใสสะอาด ใกล้ภูเขา อากาศเย็นสบาย มีการปลูกพืชผักสวนครัวไว้กินเอง ได้เห็น รั้วบ้านที่ทำด้วยไม้ต่างชนิดกัน ต้นไม้ที่ขึ้นพันรั้วนั้นก็ทานได้ เป็นอาหารของชาวบ้าน ต้นไม้น้อยใหญ่ ให้ร่มเงา นำมาก่อสร้างบ้าน เป็นโครงสร้างงานทางด้านสถาปัตยกรรม ได้เป็นอย่างดี การออกแบบฝาผนังของบ้านโดยใช้ไม้ไผ่มาเป็นโครงสร้างลายเส้นการจักสานต่างๆที่เกิดลวดลาย ที่ได้จากธรรมชาติ เป็นภูมิปัญญาที่ได้จากการใช้ธรรมชาติท้องถิ่น
ได้เห็นต้นไม้แปลกที่บ้านเราไม่มี ก็เป็นอีกประการที่ได้เห็นที่หมู่บ้านแม่จอกนอกแห่งนี้ หลังจากที่ได้ถ่ายรูปกันเยอะแล้ว ก็ไปถ่ายรูปลำธาร ที่อยู่ต้นทางเข้าหมู่บ้าน เป็นลำธารเล็กๆ ที่ไหลมาจากบนเขา สนุกสนานกับเพื่อนๆ เพราะน้ำเย็นสะอาดสวยงาม ชาวบ้านใจดีมาก


วันที่ 10 ก.ค. 2552 จังหวัดสุโขทัย
เดินทางแปดโมงเช้า กินอาหารเช้ากันที่ตลาดเมืองสุโขทัยตอนเช้า เดินทางมุ่งสู่สนามบินสุโขทัย ตั้งอยู่ ต.คลองกระจง อ.สวรรคโลก จ.สุโขทัย เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับผู้เดนทางที่ประสงค์จะเดินทางจากสุโขทัยไปยังต่างประเทศหรือจากต่างประเทศมายังสุโขทัย โดยเฉพาะอย่างยิ่งเป็นการบริการอำนวยความสะดวกให้กับผู้โดยสารที่เดินทางในเส้นทางจากสุโขทัย รางวัลชมเชย สถาปัตยกรรมดีเด่นจาก สมาคมสถาปนิกสยามในพระบรมราชูปถัมป์ประจำปี 2541 รางวัดดีเด่นสถานประกอบการที่มีการจัดการและรักษาสภาพแวดล้อม อาคารต่าง ๆ ภายในสนามบิน อาคารผู้โดยสารขาเข้า เป็นอาคารชั้นเดียว เปิดโล่ง ไม่มีผนัง หลังคาทรงจั่วแบบสุโขทัยซ้อนมุข 1 ชั้น โครงสร้างพื้นฐาน ค.ส.ล โครงสร้างหลังคาไม้ ขนาดพื้นที่ใช้สอย 204 ตารางเมตร รองรับผู้โดยสารได้ 200 คน อาคารผู้โดยสารขาออก เป็นอาคารชั้นเดียว เปิดโล่ง ไม่มีผนัง หลังคาทรงจั่วแบบสุโขทัยซ้อน มุข 1 ชั้น โครงสร้างพื้น ค.ส.ล โครงสร้างหลังคาไม้
ขนาดพื้นที่ใช้สอย 204 ตารางเมตร รองรับผู้โดยสารได้ 200 คน รูปแบบการออกแบบของสนามบินนี้ ได้ประยุกต์รูปแบบ สถาปัตยกรรมไทยมาเป็นตัวคอนเซปของสนามบินวิถีชีวิต รูปแบบต่างๆของไทย แม้กระทั่งการใช้อิฐมาเป็นตัวสร้างความสวยงามให้กับตัวอาคาร การจำลองเจดีย์ทรงพุ่มข้าวบิณฑ์ของสุโขทัยมาเป็น sculture ของสนามบินได้อย่างสวยงามและลงตัว ขึ้นรถรางของสนามบินเข้าชมรอบๆสนามบินโดยทั่ว มีโรงเพาะชำกล้าไม้ชนิดต่างๆ มีกล้วยไม้มากมายเป็นไม้ดอกที่นำมาประดับตกแต่งที่สนามบินนี้ เข้าชม โรงแรมสนามบินสุโขทัยมีความสวยงามมาก ลักษณะคล้ายกับ อาคารของสนามบินเองโดยอ้างอิงลักษณะคล้ายๆกัน มีการตกแต่งอย่างหรูหรา โครงสร้างเป็นโครงสร้าง ก่ออิฐถือปูน ใช้ไม้บ้างในบางส่วน หิน กระเบื้อง พักทานก๋วยเตี๋ยวที่สนามบิน ส้มตำ
และน้ำแข็งใส หลังจากนั้นเดินทางไปต่อที่ ศูนย์ศึกษา และอนุรักษ์เตาสังคโลก (เตาทุเรียง) ตั้งอยู่ที่บ้านเกาะน้อย ห่างจากตัวเมืองเก่าศรีสัชนาลัยเลียบแม่น้ำยมไปทางเหนือประมาณ 6.5 กิโลเมตร มีเตาเผาที่ขุดพบเตาเผาเครื่องถ้วยสังคโลกแล้วกว่า 500 เตา ในระยะทางยาวประมาณ 1 กิโลเมตร ถือได้ว่าเป็นนิคมอุตสาหกรรมของเมืองศรีสัชนาลัย มีการขุดพบเครื่องสังคโลกทั้งในสภาพสมบูรณ์ และแตกหักเป็นจำนวนมาก ลักษณะเตาเผาจะเป็นรูปยาวรีคล้ายประทุนเรือจ้างยาวประมาณ 7 - 8 เมตร
หลังจากนั้นเดินทางต่อไป วัดเจดีย์เก้ายอด เจดีย์เก้ายอดที่อยู่ใกล้อุทยานประวัติสาสตร์ศรีสัชนาลัย เจดีย์ตั้งอยู่บนเขาเรียงกันต่อไปคล้ายกัน เก้ายอด จึงเรียกเจดีย์นี้ว่าเจดีย์เก้ายอด หลังจากชมเจดีย์แล้ว เดินทางเข้าสู่ตัวอุทยานศรีสัชนาลัย เป็นเมืองถาวรที่ตั้งรกรากอยู่อาศัยกันมายาวนานเก่าแก่ตั้งแต่ก่อนสุโขทัยนับร้อยปี พ่อขุนศรีอินทราทิตย์ ของพญาลิไท ในขณะที่พระองค์ต้องพยามดิ้นรนต่อสู้กับกรุงศรีอยุธยา จึงมีการก่อสร้างวัดขึ้นในเขตเมืองมากมายหลายแห่ง และยังเป็นวัดขึ้นที่ปรากฎซากปรักหักพังที่ได้รับการบูรณะซ่อมมาจนถึงทุกวันนี้เป็นอย่างดีนอกจากเรื่องเมืองและวัดดังกล่าวแล้ว เมืองศรีสัชนาลัยยังเป็นเมืองแหล่งเตาสังคโลกโบราณที่จมดินอยู่สองฟากริมแม่น้ำยมเป็นจำนวนมากทั้งสองฝั่ง ที่บ้านป่ายาง บ้านเกาะน้อย บ้านหนองอ้อ และบริเวณวัดดอนลาน ที่อุทยานประวัติศาตร์ศรีสัชนาลัยแห่งนี้แม้จะไม้อรังการเท่ากับวัดมหารธาตุสุโขทัย แต่หลาย ๆ คนก็กลับชอบที่นี้มากกว่า เพราะที่นี่ไม่พลุกพล่าน เมืองไม่ใหญ่นัก ละมีอาณาเขตของเมืองเป็นแนวกำแพงเมืองติดแม่น้ำเห็นได้อย่างชัดเจนเลยที่เดียว ป้อมประตูรามณรงค์ อยู่ระหว่างกำแพงเมืองชั้นในด้านตะวันออกเฉียงใต้ ในเขตอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย เป็นประตูขนาดใหญ่ก่อด้วยศิลาแลง ฐานประตูรูปบัวคว่ำ กรอบนอกทั้ง ๔ มุม เป็นลักษณะย่อมุมไม้สิบสอง ด้านหน้ามีทางเดินปูด้วยลูกรังไปถึงป้อมประตู ซึ่งเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ผนังด้านนอกสุดเป็นการสกัดลงบนชั้นดินดาน รอบตัวป้อมล้อมรอบด้วยคูเมืองและสระน้ำ วัดนางพญาวัดนางพญา มีบริเวณกว้างขวางพอสมควร ภายในวัดมีเจดีย์ทรงลังกาประกอบซุ้มเรือนธาตุเป็นประธาน ก่อด้วยศิลาแลงสูงใหญ่ และมีสภาพสมบูรณ์รอบฐานเจดีย์ มีเสาโคมไฟโดยตลอด มีบันไดขึ้นไปบนเจดีย์ และมีวิหารซึ่งขนาดเจ็ดห้อง ซึ่งเป็นผังที่นิยมสร้างกันในแบบสุโขทัยและสถาปัตยกรรมเมืองเหนือ ภายในวิหารตามเสาทุกด้านมีเทพพนมและลวดลายต่างๆ ทำด้วยสังคโลกไม่เคลือบ จุดเด่นของวัดนี้คือมีผนังเหลืออยู่ด้านหนึ่งโดยมีลวดลายปูนปั้น (Stucco Decoration) ที่สวยงามอยู่ แต่ปัจจุบันหลุดลอกออกไปพอสมควรแล้ว ทั้งนี้มีการสร้างหลังคาสังกะสีคลุมผนังไว้อีกทีเพื่อการอนุรักษ์ ผนังดังกล่าวเป็นผนังที่ไม่มีหน้าต่าง แต่มีช่องอากาศตามแบบสุโขทัยและอยุธยาตอนต้น

วัดช้างล้อม เป็นโบราณสถานสำคัญ ตั้งอยู่ในอุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย อำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย มีเจดีย์ทรงลังกาที่ตั้งอยู่บนฐานประทักษิณรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส มีช้างปูนปั้นเต็มตัวล้อมรอบ ซึ่งเป็นที่มาของชื่อโดยรอบฐานทั้ง 4 ด้าน รวม 39 เชือก โบราณสถานที่สำคัญ คือ เจดีย์ประธานทรงลังกาตั้งอยู่ภายในกำแพงแก้วสี่เหลี่ยมจัตุรัส โดยมีซุ้มประตูทั้ง 4 ทิศ ประตูด้านหน้าและประตูด้านหลังเป็นทางเข้าออกก่อเป็นกำแพงศิลาแลงหนามีการเล่นระดับที่ซุ้มประตูอย่างสวยงาม สำหรับประตูด้านข้างก่อเรียงอิฐศิลาแลงปิดไว้เป็นประตูตัน เจดีย์ประธานทรงลังกาขนาดใหญ่ ตั้งอยู่บนฐานประทักษิณรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสซ้อนกันหลายชั้น
มีทางเดินเป็นบันไดขึ้นไปยังชั้นบน โดยรอบเจดีย์มีช้างปูนปั้นเต็มตัวประดับโดยรอบฐานทั้ง 4 ด้าน ด้านละ 9 เชือก (ยกเว้นด้านหนึ่งซึ่งเป็นบันไดทางขึ้นมีเพียง 8 เชือก) และที่มุมมีช้างขนาดใหญ่ประดับอีก 4 เชือก รวมเป็น 39 เชือก

ช้างเชือกใหญ่ที่อยู่มุมเจดีย์เป็นช้างทรงเครื่องมีลวดลายปูนปั้นประดับที่คอ และข้อเท้าสวยงามกว่าช้างที่ฐานสี่เหลี่ยม ระหว่างช้างปูนปั้นที่ฐานนั้นจะมีเสาประทีปศิลาแลงสลับเป็นระยะ ด้านหน้าช้างแต่ละเชือกจะมีพุ่มดอกบัวตูมปูนปั้นวางตั้งอยู่ หลังจากนั้นไปวัดพระศรีมหาธาตุเชลียง แต่มืดก่อนเลยถ่ายรูปไม่ทัน พรุ่งนี้ตีห้าเดินทางมาถ่ายรูปใหม่ หลังจากนั้นเดินทางกลับที่พักโรงแรมจังหวัดสุโขทัย

วันที่ 11 ก.ค. 2552 จังหวัดสุโขทัย ตื่นตีสี่ครึ่งขึ้นรถตีห้า รถออกมุ่งหน้าไปที่วัดพระศรีมหาธาตุเชลียงราชวรวิหาร ได้ไปถ่ายรูปที่นั่นใหม่อีกครั้ง ซื้อข้าวเหนียวหน้าสังขยากิน ปรางค์ประธานวัดก่อด้วยศิลาแลงฉาบปูนเสร็จแล้วลงสีชาดทับ ลักษณะรูปแบบสถาปัตยกรรมจัดอยู่ในสมัยอยุธยาตอนต้น ภายในองค์พระปรางค์มีสถูปรูปดอกบัวตูมขนาดเล็กโผล่ขึ้นมาคล้ายถูกสร้างครอบทับ น่าจะบรรจุสิ่งของสำคัญสำหรับการบูชาอยู่ ชาวบ้านเรียกกันว่า "หัวใจพระพุทธเจ้า" ตามผนังภายใน องค์ปรางค์พบว่ามีร่องรอยเดิมคงมีจิตรกรรมฝาผนัง
แต่ลบเลือนไปมากเขียนด้วยสีแดงแบบโบราณ ลายพรรณพฤกษา ส่วนบริเวณเรือนธาตุด้านหน้ามีบันไดขึ้นองค์ปรางค์ได้ ลักษณะฐานปรางค์องค์นี้ มีเป็นวิหารคด 3 ชั้น ก่อผนังทึบ และเจาะช่องแสง ฐานปรางค์แผ่ขยายกว้างออกไปทั้ง 3 ด้าน (ด้านหน้าเป็นพระวิหาร) คล้ายสร้างครอบสถูปหรือเจดีย์ที่สำคัญไว้ภายใน
มีอายุอยู่ ในช่วงก่อนสุโขทัยตอนต้น เนื่องจากขุดค้นพบฐานโบราณคดีก่อด้วยอิฐอยู่ใต้ฐานพระวิหารหลวง นอกจากนี้ยังพบกระเบื้องเชิงชายรูปนางอัปสรและเทวดา ซึ่งมีลักษณะร่วมสมัยศิลปะเขมรแบบบายน เช่นเดียวกับลายปูนปั้นยอดซุ้มประตูกำแพงวัด ซึ่งทำเป็นรูปพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร อยู่ด้านบนทั้ง 4 ทิศ ด้านล่างเป็นรูปเทพธิดานั่งในกรอบ ซุ้มด้านล่างเป็นรูปนางอัปสรร่ายรำ ฐานพระวิหารหลวงพ่อโตอยู่ด้านหน้าพระปรางค์ ภายในประดิษฐานพระพุทธรูปขนาดใหญ่ปางมารวิชัย ประทับอยู่ตรงกลางขนาบด้วยพระพุทธรูปขนาดเล็กประทับยืนทั้ง 2 ข้าง ถัดจากพระพุทธรูปปางมาร วิชัยทางด้านขวามีพระพุทธรูปปั้นปางลีลาที่มีลักษณะงดงาม มณฑปพระอัฏฐารสอยู่ด้านหลังของพระธาตุมุเตา เดิมน่าจะเป็นมณฑปพระสี่อริยาบท ต่อมาได้ซ่อมแซมดัดแปลงภายในซุ้มคูหายังมีพระพุทธรูปปูนปั้นยืนอยู่ เดิมเป็นมณฑปมุงหลังคาด้วยกระเบื้องดินเผา วัดกุฎีลาย แสดงให้เห้นการเรียงงอิฐของหลังคาว่ามีรูปแบบการวางอย่างไรให้แข็งแรงรูปทรงคล้ายบ้านทรงไทย เดินทางเข้าสุ่อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย


เริ่มต้นจากการเข้าชมวัดมหาธาตุ ตั้งอยู่ในใจกลางเมือง ตามแบบแผนความเชื่อในเรื่องจักรวาลแบบอินเดียโบราณ เป็นวัดที่มีความสำคัญประกอบด้วยเจดีย์ประธาน วิหาร มณฑป โบสถ์ และเจดีย์รายจำนวนมากถึง 200 องค์ นับเป็นวัดสำคัญประจำกรุงสุโขทัย
มีพระเจดีย์มหาธาตุ ทรงพุ่มข้าวบิณฑ์ศิลปะแบบสุโขทัยแท้ตั้งเป็นเจดีย์ประธาน ล้อมรอบด้วยเจดีย์ 8 องค์ บนฐานเดียวกัน คือ ปรางค์ศิลาแลงตั้งอยู่ที่ทิศทั้ง 4 และเจดีย์แบบศรีวิชัยผสมลังกาก่อด้วยอิฐอยู่ที่มุม ด้านตะวันออกบนเจดีย์ประธานมีวิหารขนาดใหญ่ก่อด้วยศิลาแลง มีแท่นซึ่งเคยเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปสำริดที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย คือ พระศรีศากยมุนี


ปัจจุบันได้รับการเคลื่อนย้ายไปอยู่ที่วัดสุทัศน์ฯ กรุงเทพฯ ที่ด้านเหนือและด้าน ไต้เจดีย์มหาธาตุมีพระพุทธรูปยืนภายในซุ้มพระ เรียกว่า "พระอัฎฐารศ" ด้านใต้ยังพบแท่งหินเรียกว่า "ขอมดำดิน" อีกด้วย เจดีย์ประธาน ซึ่งตั้งอยู่ในใจกลางเมือง ตามแบบแผนความเชื่อในเรื่องจักรวาลแบบอินเดียโบราณ เป็นวัดที่มีความสำคัญประกอบด้วยเจดีย์ประธาน วิหาร มณฑป โบสถ์ และเจดีย์รายจำนวนมากถึง ๒๐๐ องค์ เจดีย์ประธาน ซึ่งตั้งเด่นสง่างามมีลักษณะเป็นเจดีย์ทรงดอกบัวตูมถือว่าเป็นสถาปัตยกรรมที่แสดงถึงเอกลักษณ์ของศิลปะสุโขทัยโดยแท้ แต่คงมิได้เป็นรูปแบบแรกเริ่มเมื่อมีการสร้างวัดมหาธาตุขึ้น ของเดิมน่าจะมีลักษณะเช่นเดียวกับเจดีย์ทิศที่ตั้งอยู่บนฐานเดียวกัน และตั้งอยู่ตรงกลางของด้านทั้งสี่ รายรอบเจดีย์ประธานเป็นเจดีย์ทิศจำนวน ๘ องค์ องค์ที่อยู่ตรงมุมทั้งสี่เป็นเจดีย์ที่มีอิทธิพลของศิลปะหริภุญไชย ล้านนา ส่วนเจดีย์ที่อยู่กึ่งกลางของด้านทั้งสี่เป็นเจดีย์ทรงปราสาทยอดแบบสุโขทัย ซึ่งมีลวดลายปูนปั้นแบบอิทธิพลศิลปะลังกา รอบ ๆ เจดีย์ประธานมีปูนปั้นรูปพระสาวกในท่าอัญชุลี เดินประทักษิณโดยรอบพระมหาธาตุ วัดศรีสวาย เดิมเป็นเทวสถานในศาสนาพราหมณ์ ลักษณะเป็นปรางค์สามยอดแบบขอม ตั้งอยู่ทางทิศใต้ของวัดมหาธาตุ มีคูน้ำล้อมรอบปรางค์สามองค์ โบราณสถานดังกล่าวนี้มีที่มาจากทรงปราสาทแบบขอม


แต่ได้รับการดัดแปลงแตกต่างจากต้นแบบ เช่นส่วนประดับของปราสาทขอมที่เรียกว่า บันแถลง กลายเป็นรูปกลีบขนุน และปูนปั้นประดับกลีบขนุนเป็นรูปครุฑยุดนาคและเทวดา ปรางค์วัดศรีสวายจึงแตกต่างจากปรางค์สมัยกรุงศรีอยุธยาซึ่งมีต้นแบบจากปรางค์ในศิลปะขอมและคล้ายคลึงแบบขอมมากกว่าปรางค์ในแบบของช่างสุโขทัย
ไปชมงานที่ศูนย์บริการนักท่องเที่ยว ของทางอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย

วัดพระพายหลวง ตั้งอยู่นอกกำแพงเมืองด้านทิศเหนือ ผังบริเวณวัดเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า มีคูน้ำล้อมรอบ ๓ ชั้น คูชั้นนอก เรียกคูแม่โจน วัดพระพายหลวงนี้ เป็นศูนย์กลางของชุมชนในระยะแรกก่อนการสถาปนาอาณาจักรสุโขทัย โบราณสถานที่มีอายุเก่าแก่ที่สุด ของวัด คือ พระปรางค์ ๓ องค์ ก่อด้วยศิลาแลง ลักษณะแผนผัง และรูปแบบ ศิลปะ เป็นเขมรแบบบายน สมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ ไป
ต่อด้วยวัดศรีชุม เป็นโบราณสถานที่ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของเมืองสุโขทัย สันนิษฐานว่าสร้างในสมัยพ่อขุนรามคำแหงในวัดปรากฏโบราณสถานขนาดใหญ่ลักษณะมณฑปรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส ประดิษฐานพระพุทธรูปปูนปั้นขนาดใหญ่เต็มมณฑป ซึ่งสันนิษฐานว่าในอดีตตัว
มณฑปน่าจะมีหลังคาคล้ายโดม ตัวมณฑปนั้นตั้งอยู่บนฐานสูง ด้านหน้าเปิดเป็นช่องเห็นพระพักตร์พระพุทธรูปงดงามแต่ไกล มีต้นมะม่วงต้นใหญ่หลายร้อยปีอยู่ข้างๆ ดูแล้วเกิดสัดส่วนสวยงามตั้งตระง่านเคียงคู่วัดศรีชุม
ไปดูรีดภงค์
วันที่ 12 ก.ค. 2552 ออกเดินทางจากจังวัดสุโขทัย
มุ่งหน้าไปจังหวัดพิษณุโลก วัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร หรือชื่อที่เรียกกันทั่วไปว่า "วัดใหญ่" ตั้งอยู่ที่ ถนนพุทธบูชา ริมฝั่งแม่น้ำน่าน ด้านทิศตะวันออก


วัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร เป็นวัดที่มีประวัติยาวนานมาตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัย มีสถาปัตยกรรม ศิลปกรรม และประติมากรรมที่งดงามยิ่ง ถือได้ว่าเป็นมรดกทางศิลปวัฒนธรรมอันล้ำค่าของเมืองพิษณุโลก พระวิหารพระพุทธชินราช เป็นวิหารทรงโรง เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธชินราช ซึ่งนับถือกันว่าเป็นพระพุทธรูปที่งดงามที่สุดองค์หนึ่งในโลก


ตัวพระวิหารสร้างมาตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัย และได้รับการบูรณะให้มีสภาพดีมาตลอดจนถึงสมัยปัจจุบัน พระวิหารหลังนี้จึงเป็นสถาปัตยกรรมสมัยกรุงสุโขทัยที่มีความสง่างามสมส่วน และยังคงสภาพสมบูรณ์ดีที่สุดแห่งหนึ่งของไทย
ไปต่อที่วัดราชบูรณะ ศิลปะและโบราณสถาน เจดีย์หลวงวัดราชบูรณะ ตั้งอยู่ทางด้านตะวันตก ติดถนนริมฝั่งแม่น้ำน่าน เป็นเจดีย์ทรงกลมขนาดใหญ่ แกนในของฐานเป็นดิน ภายนอกก่ออิฐ ฐานพระเจดีย์เป็นหน้ากระดาน ๘ เหลี่ยม ซ้อนกันขึ้นไปประมาณ ๘ ชั้น มุมฐานบนสุดมีจุลเจดีย์ประดับที่มุม ระหว่างจุลเจดีย์นี้ทำเป็นพนักระเบียงติดต่อกันโดยรอบ ส่วนตรงกลางเป็นพระเจดีย์ประธาน จากการศึกษารูปแบบพบว่า ฐานเจดีย์มีลักษณะรูปทรงศิลปะสมัยสุโขทัย จึงสันนิษฐานว่าน่าจะมีการบูรณะปฏิสังขรณ์ใหม่ในสมัยอยุธยา พระบรมสารีริกธาตุวัดราชบูรณะ กรมศิลปากรที่ ๖ จังหวัดสุโขทัย ได้เข้ามาทำการบูรณะเจดีย์หลวง (เจดีย์ใหญ่ ๙ ยอด) เจดีย์ลาย และวิหารหลวงของวัดราชบูรณะ ได้พบพระบรมสารีริกธาตุที่บริเวณคอระฆังของเจดีย์หลวง ซึ่งบรรจุอยู่ในผะอบเงินประดับทอง ๘ เหลี่ยม จำนวน ๒๓ องค์ และบรรจุภายในเจดีย์สำริดจำลองจำนวน ๑ องค์ ซึ่งเป็นพระบรมสารีริกธาตุที่ใหญ่ที่สุด (ข้อสันนิษฐานของนักโบราณคดี)

หลังจากที่ได้เดินดูวัดรอบๆแล้ว ก็ได้เดินไปกินก๋วยเตี๋ยวห้อยขา นับว่าร้านนี้มีชื่อเสียงด้านการจัดที่นั่งร้านให้นั่งกินก่วยเตี๋ยวแบบห้อยขา เลยเป็นความแปลก
สร้างชื่อให้ร้านมีชื่อเสียง หลังจากนั้นก็แยกย้ายซื้อของ เตรีมตัวกลับกรุงเทพสามโมง เดินทางกลับ แวะซื้อของฝากอร่อยๆที่นครสวรรค์แล้วเดินทางกลับสู่ กทม. ถึงลาดกระบังสี่ทุ่ม

จากการที่ได้ไปทริปครั้งนี้ เปรียบเสมือนว่าเราได้เปิดโลกทัศน์ให้กว้างขึ้นนอกเหนือจากที่มีอยู่ในห้องเรียน สร้างเสริมประสบการณ์โดยการออกไปหาความรู้ในรูปแบบต่างๆมากมายที่รอเราอยู่ ถือว่าเป็นประการณ์ที่ดีของชีวิตอีกครั้งหนึ่งที่ได้ศึกษาหาความรู้ในสิ่งต่างๆที่เราสามารถนำความรู้ที่เราไปประสบมานั้น นำมาใช้ประโยชน์ได้หลากหลาย เราไปในฐานะนักศึกษาไปทัศนศึกษา ทุกสิ่งที่เราพบเห็นนั้นเราควรศึกษา อย่างเช่นสิ่งแวดล้อม สถาปัตยกรรมรูปแบบต่างๆ โบราณสถาน บ้านโบราณ ชุมชนและอื่นๆ สิ่งเหล่านี้เป็นแหล่งข้อมูลสำคัญที่เราควรตระหนักและนำความรู้ที่บรรพบุรุษเรานั้นได้สั่งสมมาเป็นเวลาช้านาน มาใช้ประโยชน์กับชีวิตประจำวัน ทางด้านการเรียน การทำงาน การออกแบบที่เกี่ยวเนื่องกับสถาปัตยกรรม นับว่ามีประโยชน์ในหลายๆด้านมากมาย การเดินทางครั้งนี้ได้ทั้งความรู้ ประสบการณ์ความประทับใจจากเพื่อนๆ ความมีน้ำใจของเพื่อนๆ และอาจารย์ทุกๆท่านที่คอยชี้แนะแนวทางประสบการณ์ของสิ่งที่ไม่เคยสัมผัส วัฒนธรรม ประเพณี เป็นสิ่งที่มีประโยชน์กับการเรียนและชีวิตของตัวกระผมเองเป็นอย่างมาก รักอาจารย์จิ๋วมาก ท่านได้เสียสละให้ความรู้กับเราเป็นอย่างมากทั้งแรงกายแรงใจ เห็นความเอาใจใส่อยากให้เราได้เรียนรู้ในสิ่งที่ท่านรับรู้มา สิ่งสำคัญ คุณค่าของงานสถาปัตยกรรม วิถีชีวิตความเป็นพื้นถิ่นไทย ถ่ายทอดทุกสิ่งทุกอย่างเพื่อนักศึกษาของท่าน แม้กระทั้งเรื่องอาหารการกิน ท่านก็ยังคอยชี้แนะชักชวนให้เรารู้จักในสิ่งที่เราไม่เคยเห็นไม่รู้จักมาก่อน การใช้ชีวิตให้ถูกต้องเหมาะสม นับว่าเราโชคดีเหลือเกินกับการที่ได้ไปทริปและได้เรียนคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ลาดกระบังแห่งนี้ และจะไม่ลืมเรื่องดีๆที่เกิดขึ้นระหว่างไปทริป ความโอบอ้อมอารีย์ของชาวบ้านที่เราไม่ค่อยได้เห็นแล้วในปัจจุบัน ความมีน้ำใจที่ชาวบ้านได้ให้เรามาชาวบ้านให้เรามากกว่าที่เราไปถ่ายรูป เราได้คุณค่าได้ความรู้จากชาวบ้านเราควรเห็นบุญคุณหรือแหล่งความรู้ทุกที่ที่เราได้ไป ควรระลึกถึงบุญคุณที่พวกเขานั้นได้ให้กับเราไว้ด้วย และนำสิ่งเหล่านั้นมาใช้ให้เกิดประโยชน์มากที่สุด


Sunday, July 19, 2009

ทริปภาคปฏิบัติสถาปัตยกรรม 4-6 ก.ค. 2552

วันที่ 4 ก.ค. 2552 วันแรกของการเดินทางไปฟิลด์ทริป ยานพาหนะการไปทริปครั้งนี้ก็คือ รถบัสของคณะเราเองซึ่งมีอยู่ สองคัน และยังมีพี่ๆ ปริญญาโท ไปร่วมทริปครั้งนี้ด้วย



สถานที่ที่มุ่งหน้าไปเป็นจังหวัดแรกคือ จังหวัดสระบุรี ไปเยี่ยมชม บ้านอาจารย์ทรงชัย ซึ่งอาจารย์ท่านได้อนุรักษ์บ้านทรงไทยเอาไว้ รู้สึกได้ว่ายังมีคุณค่าของเดิมอยู่มาก ไม่ค่อยทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงไปมากเท่าใดนัก อาจารย์จิ๋วได้แนะนำ อาจารย์ทรงชัยให้ นักศึกษาได้รู้จัก แล้วท่านได้ให้ความรู้เกี่ยวกับชีวิตความเป็นอยู่ของคนไทยสมัยก่อน เน้นเกี่ยวกับพี่น้องชาวไทยวน ในสมัยนั้น เล่าให้ฟังถึงเรื่องประวัติศาสตร์ตำนานก่อนที่จะมาตั้งรกรากอยู่ที่นี้ คนไทยสมัยก่อนมีภูมิปัญญาหลายด้าน เพื่อการดำรงชีวิต อาหารการกิน ยารักษาโรค อาจารย์ก็ได้ให้นักศึกษาแยกย้ายถ่ายรูปกันให้ทั่ว


บ้านอาจารย์ทรงชัย บริเวณบ้านสงบ มีต้นไม้เขียวขจี น้อยใหญ่แต่ละต้นมีประโยชน์ทั้งนั้น กินได้ รักษาโรคได้ มีการเลี้ยงไก่ ได้เห็นภาชนะอุปกรณ์ชิ้นต่างๆที่ไม่เคยเห็นก็ได้เห็นครั้งแรกที่นี่ ได้เดินเข้าไปถ่ายรูปด้านหลังบ้านเป็นสระน้ำที่มีบ้านอยู่รอบๆสระน้ำ น่าอยู่ เย็นสบาย เป็นเหมือนบ้านริมน้ำ มีการวางข้าวของเครื่องใช้ต่างๆ ให้เราได้ศึกษา มีสามหลัง มีอุปกรณ์จับปลา โอ่งน้ำ มีเกวียนและกรงนก ซึ่งหาดูได้ยากมากในยุคปัจจุบัน เครื่องมือทำครัวกระต่ายขูดมะพร้าว อาจารย์ให้เวลาถ่ายรูปกันสักพัก ก็ข้ามถนนมาอีกฝั่งซึ่งเป็นกลุ่มบ้านเรือนไทยริมแม่น้ำป่าสัก การมีประยุกต์ใช้ความชันของตลิ่งนำมาใช้ในการออกแบบ เป็นบันไดลงสู่แม่น้ำ สร้าง step บันไดสร้างเวที มีการประยุกต์การใช้พื้นที่อย่างน่าสนใจ เมื่อกินอาหารกลางวันกันแล้วก็มีการแสดงแบบพื้นบ้านของชาวไทยวนให้ชมด้วยกันทั้งหมด 4 ชุด ศิลปะแบบภาคเหนือ โดยน้องๆ นักเรียน ที่อยู่ภายในชุมชนนั้นได้รับการฝึกจากบ้านของอาจารย์ทรงชัยเอง หลังจากที่เสร็จจากการเยี่ยมชมแล้วก็ได้เดินทางจากบ้านของอาจารย์ทรงชัย จังหวัดสระบุรี เดินทางผ่านลพบุรี สิงห์บุรี ชัยนาท นครสวรรค์ เข้าชม วัดพระนอนจังหวัดกำแพงเพชร ซึ่งวันนั้นตรงกับวันอาสาฬหบูชา ได้เข้าชมโบราณสถาน ถ่ายรูปวิหาร รูปพระยืนสี่ทิศ ตกเย็นมีพีธีเวียนเทียนกัน หลังจากนั้นก็เดินทางไปในตัวเมืองของจังหวัดกำแพงเพชร เพื่อรับประทานอาหารเย็นกันในตอนเย็นที่ตัวเมือง ร้านอาหารเยอะมาก มีตลาดนัด พอทานอาหารเสร็จกันแล้วก็ได้เวลาออกเดินทางสู่จังหวัดลำปาง ถึงจังหวัดลำปาง ตอนประมาณเที่ยงคืน เราได้ทำการเข้าพักที่โรงแรม M.R. PALACE แล้วเข้าเช็คอินเข้าตัวโรงแรมในคืนนั้นห้องพักห้องละสี่คน ตามที่ได้จัดกันเอาไว้แล้ว

วันที่ 5 ก.ค. 2552 จังหวัดลำปาง
เริ่มทริปวันแรกของจังหวัดลำปาง กินอาหารเช้ากันกินข้าวซอยที่เผ็ดมาก กินหมูสะเต๊ะ ขนมปังงหน้าหมู อร่อยมาก วันนั้นฝนตกรินตอนเช้าอาการครึ้มๆ ออกเดินทางสายหน่อยเพราะฝนตกแล้วออกเดินทางกันประมาณเก้าโมงเช้า


โดยเดินทางไปที่แรกคือวันไหล่หิน วัดนี้เงียบสงบมาก ตัววิหารที่วัดไหล่หินนี้เก่าแก่ วันนั้นฝนตกเลยเห็นถึงสีของตัวไม้ออกคล้ำๆ ก็ดูสวยงามไปอีกแบบ แดดไม่ค่อยมีทำให้ถ่ายรูปออกมาไม่ค่อยสวยเท่าที่ควร ซุ้มประตูโขงทางเข้าตัววิหารนั้นมีลายละเอียดที่สวยงาม องค์ประกอบทางด้านศิลป์ฝีมือของช่างในสมัยโบราณ นั้นมีความปราณีตมากในเรื่องของ ลายละเอียด ลายเป็นรูปสัตว์ต่างๆ แสดงอยู่บนชุ้มประตูโขงนี้ ซุ้มประตูโขงนี้ศิลปะคล้ายคลึงกันกับซุ้มประตูของทางเข้าวิหารพระธาตุลำปางหลวง ตัวระเบียงคธรอบด้านของวิหาร ลานกรวดทรายที่ทำให้รูว่ามีประโยชน์อย่างไรในการใช้งาน ลานทรายเปรียบเสมือนการนำทรายที่ติดเท้าของชาวบ้านนั้นเมื่อตอนมาวัดแล้วดินทรายก็ได้พลอยได้เท้าเราไปด้วย ชาวบ้านเลยได้นำทรายมาถวายวัดเพื่อเป็นกุศล นำทรายมาโรยลานวิหาร พื้นที่ว่างเวลาถอดรองเท้าเดินเราจะทราบถึงความสงบการเข้าถึงความหมายที่แท้จริง ดูดโครงสร้างของตัววิหารการวางโครงสร้างอาคาร หลังคา สัดส่วนขององค์พระเพื่อให้เกิดความสวยงาม ลวดลายของงานศิลปะ ศึกษาภาพวาดตามผนังตัววิหาร ลายปิดทองที่เสาที่มีความสวยงาม และส่วนอื่นๆในโถงของตัววิหาร ลายปูนปั้นของวัดไหล่หินที่นี่มีความหมายของมันเอง และมีค่า ยิ่งเก่ายิ่งสวย กระเบื้องของหลังคานั้น ยังคงคงเดิม โทนสี ความเป็นระเบียบของตัวกระเบื้อง ดูแล้วเกิดความศรัทธาในตัววิหารอย่างมาก ลายกระเบื้องพื้นของวิหาร พระธาตุจะอยู่ด้านหลังตรงแนวเดียวกับตัววิหาร ช่อฟ้าใบระกา เห็นถึงความพยายามของบรรพบุรุษ ภูมิปัญญาที่มีมาอย่างช้านาน ทางเดินของระเบียงคธนั้นได้เห็นถึงประเพณีต่างๆของชาวเหนือ มีตุง โคมต่างๆห้อยอยู่ตามระเบียงคธ กลองใหญ่ ฆ้องขนาดใหญ่ ระเบียงคธนั้นจะมีพระพุทธรูปต่างๆอยู่อยู่ตามแนวทางเดินโดยรอบหันหน้าเข้าสู่ตัววิหาร วัดไหล่หินนี้มีต้นยางด้านหลังวัดหลายต้นมีขนาดใหญ่มาก ถ่ายรูปออกมาแล้วทำให้สัดส่วนของวิหารดูน่าสนใจมาก ทั้งๆที่สัดส่วนของอาคารไม่ได้ใหญ่ เป้นสิงที่น่าสนใจอีกประเด็นหนึ่งที่ประทับใจ เดินทางต่อไปพระธาตุลำปางหลวง

พระธาตุลำปางหลวงตั้งอยู่ในเขตตำบลลำปางหลวง อำเภอเกาะคา จังหวัดลำปาง ตัววัดตั้งอยู่บนเนินสูง มีการจัดวางผัง และส่วนประกอบของวัดสมบูรณ์แบบที่สุด มีสิ่งก่อสร้าง และสถาปัตยกรรมต่าง ๆ บริเวณพุทธาวาสประกอบด้วย องค์พระธาตุลำปางหลวง เป็นประธาน มีบันไดนาคนำขึ้นไปสู่ซุ้มประตูโขง ถัดซุ้มประตูโขงขึ้นไปเป็น วิหารหลวง บริเวณทิศเหนือขององค์พระธาตุมีวิหารบริวารตั้งอยู่คือ วิหารน้ำแต้ม และ วิหารต้นแก้ว ด้านตะวันตกขององค์พระธาตุประกอบด้วย วิหารละโว้ และ หอพระพุทธบาท ด้านใต้มี วิหารพระพุทธ และ อุโบสถ ทั้งหมดนี้จะแวดล้อมด้วยแนวกำแพงแก้วทั้งสี่ด้าน นอกกำแพงแก้วด้านใต้มีประตูที่จะนำไปสู่เขตสังฆาวาส ซึ่งประกอบด้วยอาคาร หอพระไตรปิฎก กุฏิประดิษฐาน พระแก้วดอนเต้า อาคารพิพิธภัณฑ์และกุฏิสงฆ์ พระธาตุลำปางหลวงนั้นอยู่ พระธาตุลำปางหลวงมีการบูรณะอยู่วันที่ไปนั้นฝนตกอยู่ บันไดนาคมีขนาดใหญ่สอบเข้า ดูแล้วนำเราไปสู่ ตัวพระธาตุ สวยงาม ประตูโขง เป็นฝีมือช่างหลวงโบราณที่สวยงามก่ออิฐถือปูนทำเป็นซุ้มยอดแหลมเป็นชั้น ๆ มีสี่ทิศ ประดับตกแต่งด้วยลวดลายปูนปั้น รูปดอกไม้ และสัตว์ในหิมพานต์ องค์พระธาตุเจดีย์ เป็นเจดีย์ทรงล้านนา ก่ออิฐถือปูน ประกอบด้วยฐานสี่เหลี่ยมย่อมุมด้วยบัวมาลัยสามชั้น เป็นเจดีย์ขนาดใหญ่หุ้มด้วยแผ่นทองเหลือง ฉลุลายหรือที่เรียกว่าทองจังโก ตามตำนานกล่าวว่าเป็นบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ ที่นี่มีเงาของพระธาตุกลับหัวให้ดูด้วย แต่ผู้หญิงไม่สามารถขึ้นชมได้ บริเวณด้านหน้าทางเข้าพระธาตุลำปางหลวงนั้นมีรถม้า ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของจังหวัดลำปางอยู่ด้วย ซึ่งนักท่องเที่ยวก็ให้ความสนใจกันมาก ถ่ายรูป ละก็ขอใช้บริการชมรอบๆ วัด พอขึ้นไปข้างบนจะเห็นวิหารเป็นสิ่งแรกสามารถมองเห็นองค์พระอยู่ตรงหน้าได้เลย โถงมีขนาดใหญ่ ตัวโครงสร้างหลังคา แต่ที่วัดนี้มีฝ้าเพดานปิดโครงตรงส่วนแนวกลางชั้นใน จึงทำให้มองไม่เห็นอกไก่ด้านบนสุดของหลังคา ลายภาพตามผนังของตัววิหาร เป็นภาพเกี่ยวกับพระพุทธเจ้า เหตุการณ์สำคัญๆต่างๆ ทางพระพุทธศาสนา เมื่อมองออกไปจากตัววิหารไปที่ประตูโขงนั้นดูแล้วได้วิวที่น่าสนใจ เนื่องจากเราอยู่สูงกว่าพื้นด้านล่าง ดูโล่ง เกิดสเปสของวิว เปรียบเสมือนวิหารเป็นศูนย์กลาง แต่ก่อนลานของวัดพระธาตุลำปางหลวงนั้นจะเป็นลานทราย แต่ได้บูรณะใหม่จนทำเป้นลานกระเบื้องแต่บางส่วนก็ยังมีเหลืออยู่ ตัวพระธาตุจะอยู่ด้านหลังของตัววิหาร มีขนาดใหญ่มาก ตัววิหารจะมีสีทองอร่าม ได้เข้าชมพระธาตุหัวกลับ น่าสนใจเป็นอย่างยิ่งที่เข้าชม เกิดจากการหักเหตุของแสงและมุมองศาที่พอดีกัน มากระทบบนผืนผ้า
หลังจากเสร็จจากการ เข้าชมวัดพระธาตุลำปางหลวง ได้รับประทานอาหารกันที่ ร้านอาหารด้านหน้าวัดพระธาตุลำปางหลวง มีร้านค้าขายเยอะ แคปหมู ขนมจีนน้ำเงี้ยว อร่อยมาก กระเพาะปลา ข้าวซอย ของฝากขนมข้าวแต๋น และอื่นๆ อีกมากมาย


เดินทางไปวัดปรงยางครก เป็นอีกวัดหนึ่งที่ยังคงเก็บรักษา วิหารหลังเก่าแก่นี้ไว้เป็นอย่างดี วัดอยู่วัดปงยางคก ตั้งอยู่ที่หมู่บ้านปงยางคก ในเขตอำเภอห้างฉัตร เป็นวัดเก่าแก่มีมาแต่ดั้งเดิม เป็นวัดตัวอย่างของสถาปัตยกรรมล้านนา วิหารของวัดเป็นวิหารเครื่องไม้ ภายในมีศิลปะที่มีคุณค่าหลายประการด้วยกัน คือ โขงพระประธาน พระประธานเป็นพระพุทธรูปปางสมาธิเพชรทางทิศเหนือ ทางทิศใต้มีพระพุทธรูปปางประทานพร ฐานหุ้มมณฑปก่ออิฐปูนปั้น ประกอบซุ้มโขงขนาดเล็ก ธรรมมาสน์ ก่อด้วยอิฐฉาบปูนติดกระเบื้องเคลือบดินเผาสีต่างๆ ส่วนฐานตกแต่งแบบชาวพื้นเมือง ตัวธรรมมาสน์ทำด้วยไม้ลงรักปิดทองลายรูปดอกไม้ ลักษณะของดอกและลายก้านต่างๆ เป็นลายเดียวกัน ภาพเขียน มีภาพเขียนที่สวยงาม มีคุณค่าหลายแห่ง เช่น ลายดาวเพดาน หลังคาไม่มีเพดาน แต่ใช้ตัวโครงสร้างประกอบ เช่น ไม้กลอนหัวเสา และแปลาน เป็นตัวแต่งลายประดับต่างๆ โดยที่ช่างจำลองความคิดมาจากดวงดาวบนท้องฟ้า ลวดลายที่คอสอง เป็นรูปวงกลมใหญ่ มีรัศมีแผ่กระจายออกจากศูนย์กลางอันหมายถึงดวงอาทิตย์ แวดล้อมด้วยดวงจันทร์ และดวงดาวเป็นรูปกลม ลายดอกไม้หรือ ปูรณะฆฏะ ที่กระถางบูชา (หม้อดอก) ของวิหารวัดปงยางคก ถือว่าเป็นผลงานทางศิลปะที่งดงามอ่อนช้อยอย่างยิ่ง
หลังจากที่วัดปงยางครกศึกษาเสร็จเรียบร้อยแล้วอาจารย์จิ๋ว ก็ได้พานักศึกษาออกเดินทางไปตามชุมชนบ้านโบราณในย่านนั้น ดูการจัดสวนของบ้าน ความเป็นอยู่ องค์ประกอบ ความเป็นพื้นฐานของการดำรงชีพ เครื่องไม้เครื่องมือต่างๆ องค์ประกอบที่มีความเกี่ยวข้องกับงานออกแบบทางด้านสถาปัตยกรรม รวมไปถึงประเพณีของแต่ละท้องถิ่น ชาวบ้านที่จังหวัดลำปางใจดีมากให้เราได้ศึกษาบ้านเรือนของชาวบ้านเอง น่าประทับใจมาก บ้านแต่ละหลังน่าอยู่มีสวนครัว มีการดำรงชีวิตแบบเรียบง่าย สงบ การอยู่กับธรรมชาติ เป็นสิ่งที่พอเพียง การออกแบบเครื่องเรือนที่พักอาศัยที่เรีบยง่าย การใช้วัสดุต่างๆในท้องถิ่นมาใช้ให้เกิดประโยชน์ ได้ขอเข้าไปถ่ายรูปบ้านคุณตาคุณยายท่านได้ให้พรน่าอบอุ่นมาก ท่านมีจิตใตดี เอ็นดูคณะพวกเราที่ไปแวะศึกษา เป็นสิ่งหนึ่งที่ประทับใจ

วันที่ 6 ก.ค. 2552 ได้ออกเดินทางออกจากตัวเมืองจังหวัดลำปาง


เพื่อไปหมู่บ้าน ดูชีวิตความเป็นอยู่ของหมู่บ้านในแถบนี้ว่าเป็นอย่างไร ลักษณะความเป็นของเดิมๆ ความเป็นพื้นบ้าน บ้านแต่ละบ้านจะมีสวนหน้าบ้านเป็นสวนดอกไม้ ไม้ประดับ พืชสวนครัวบางส่วนด้วย ส่วนมากจะสร้างบ้านด้วยไม้ในสมัยก่อนๆ ลานหญ้าหน้าบานสะอาดโล่งเตียน โครงสร้างไม้ เกือบจะทุกส่วน บันได เสาไม้ โครงหลังคา ลูกกรงราวกันตก พื้นที่ใต้ถุนนั้นสามารถใช้เป็นลานเอนกประสงค์ได้ นั่งเล่น ทานข้าว รับแขก มีประโยชน์ในหลายๆด้านด้วยกัน มีห้องเก็บของ สวนลำไย ในสวนหลังบ้าน ใต้ถุนแต่ละบ้านดูแลสะอาดน่าอยู่ เปรียบเสมือนเป็นส่วนรับแขกซึ่งต้องดูแลให้สะอาดเรียบร้อยอยู่เสมอ สิ่งที่สำคัญของบ้านพื้นที่แถวนี้ก็คือกระเบื้องที่ใช้มุงหลังคา จะเป็นแบบเดียวกัน หมู่บ้านนี้ส่วนใหญ่จะทำการเกษตรกันเป็นส่วนมาก มีทุ่งนาอยุ่หลังหมู่บ้านเป็นทุ่งกว้าง ไกลๆนั้นเป็นภูเขา หลังจากที่ดูบ้านที่หมูบ้านนี้เสร็จเรียบร้อยแล้ว ได้เห็นการไถ่นา การปลูกข้าว ตอนนั้น

ฝนยังตกอยู่ ชาวนาก็บอกการดำนา ได้เห็นอุปกรณืการทำนา รถไถ่นา ก็ได้ออกเดินทางไป หมู่บ้านปลายนาทำนา เกบตรกรรมกันเหมือนกับหมู่บ้านแห่งแรก ได้ไปแวะทานอาหารกลางวันที่ได้เตรียมมาเอง ที่วัดบ้านปลายนาซึ่งมีเจ้าอาวาส มาแนะนำข้อมูลของหมู่บ้าน พาทางเราเข้าไปแนะนำหลายๆอย่างให้เราได้ศึกษา ได้ฟังเทศน์จากเจ้าอาวาสด้วย ดูบ้านในท้องถิ่นบ้านปลายนา มีการเลี้ยงสัตว์ หมู ไก่ ของชาวบ้าน ได้เดินเล่นถ่ายรูปกับทุ่งนาเขียวๆ
ใกล้จะกลับเราได้แวะบ้านหลังหนึ่ง เป็นบ้านที่อยู่กลางทุ่งนานหลังเล็กๆ เลี้ยงวัวด้วย มีต้นลำไย ได้ซื้อมา หนึ่งพวงในราคา ห้าบาทเท่านั้น บ้านคุณป้าผู้นี้ มีสวนครัว ต้นไม้บังแดด กันลมเลาเกิดพายุ รอบๆ พื้นที่บ้านเป็นนา ปลูกข้าว เหลือพื้นที่ใช้เป็นคอกวัว พื้นที่ไม่ใหญ่ ดูเรียบง่าย ใช้ประโยชน์กับทุกสิ่งในบริเวณนั้น นับว่าบ้านหลังนี้อยู่ด้วยตนเอง กับสิ่งที่มีกับธรรมชาติ พอเพียง น่าประทับใจอย่างมาก
ได้แวะ บ้านเรือนเครื่องผูกหลังหนึ่ง ตอนขากลับ ทางไปหมู่บ้านปลายนา เป็นบ้านเรือนเครื่องผูกทั้งหลัง มุงหญ้า ใช้ไม้ไผ่ทำเสา ทั้งบ้านล้วนแล้วไม่ได้ใช้วัสดุสมัยใหม่มาสร้าง ด้านในมีตะแคร่เป็นส่วนพักผ่อนนั่งเล่น ถัดไปเป็นครัวที่อยู่ข้างใน เรียบง่าย เปิดโล่ง มีหม้อข้าว ซึ้งหวดนึ่งข้าวเหนียววางอยู่ มีชายคายื่นออกมาบังแดดสำหรับพื้นที่หน้าบ้าน ใต้ถุนยกสูงประมานหนึ่งเมตร พื้นที่ของใต้ถุนใช้เก็บฟืนสำหรับหุงต้มอาหาร ผนังของตัวบ้านใช้ไม้ไผ่มาทุบให้เป็นแผ่นแล้วแปะไปตามแนวผนังให้รอบตัวบ้าน ใช้ทั้งหลังสวยงาม โครงหลังคาเป็นไม้ที่หาได้ไม่ยากในท้องถิ่นราคาไม่แพงมากนัก บ้านหลังนี้ยังมีหม้อดินสำหรับใส่น้ำดื่มเย็นๆไว้หน้าบ้านอีกด้วย รั้วข้างบ้านของเจ้าของบ้านหลังนี้เป็นรั้วกินได้ มีพืชผักสวนครัวต่างๆมากมายขึ้น ผักปัง ตำลึง ชะอม และอื่นๆ ปลูกต้นกระเพรา และสวนผลไม้ไว้หลังบ้าน ไร่ข้าวโพดเล็กๆหลังบ้าน
หลังจากนั้นเดินทางไปวัดข่วงกอม วิหารวัดข่วงกอมในตอนแรก แล้วได้ศึกษาหมู่บ้านใกล้เคียงย่านนั้น ได้ศึกษากุฏิของวัดที่มีรูปแบบใหม่แต่ลักษณะคล้ายเดิม เดินดูบ้านสวนหน้าบ้านสวยมาก มีทั้งไม่สวนไม้ประดับ หลากหลาย ต้นไม้น้อยใหญ่ สร้างบรรยากาศให้กับบริเวณบ้านได้เป็นอย่างดี ฝาไหลหน้าบ้านรับลมเย็นๆจากภายนอกเข้าสู่ตัวบ้านได้เป็นอย่างดี มีการวางโอ่งดินเผาไว้หน้าต่างเพื่อให้เย็น เพื่อให้ได้น้ำดื่มเย็นๆ ใต้ถุนของบ้านสะอาด มีการเลี้ยงหมูด้วย ต้นไม้หลากหลายพันธุ์ ส่วนด้านหลังเป็นครัว
ในหมู่บ้านนี้มีคลองส่งน้ำเป็นหัวใจของการใช้น้ำภายในหมู่บ้านด้วย ได้เดินข้ามคลองไปอีกฝากที่มีทุ่งนา ทิวเขาอยู่ไม่ไกลนัก ทุ่งข้าวสีเขียว มีวัวอยู่บ้างตามทุ่งนา ประกอบกับสายน้ำของคลองนั้น ได้ถ่ายภาพส่วนนี้มาด้วย กับเพื่อนๆ สวยงามมาก เพราะว่าไม่มีบ้านคนพักอาศัยอยู่ แถวนั้น มีความอุดมสมบูรณ์มาก อากาศดี
กลับขึ้นรถเดินทางเข้าสู่ตัวเมืองลำปาง ไปแวะกินข้าวก่อนกับโรงแรม แล้วก้อแยกย้ายกลับโรงแรม