เช้าวันนี้ได้เก็บข้าวของก่อนเดินทางไปอีกจังหวัดนั้นก็คือจังหวัดเชียงใหม่ กินข้าวกันเสร็จเรียบร้อยแล้วก็ออกเดินทาง ไปดูงานที่วัดพระแก้วดอนเต้าสุชาดาราม พระบรมธาตุดอนเต้า วัดพระแก้วดอนเต้าสุชาดาราม พระอารามหลวงชั้นตรีชนิดสามัญ ตั้งอยู่ที่ ตำบลเวียงเหนือ อำเภอเมืองลำปาง จังหวัดลำปาง เป็นวัดที่เก่าแก่และสวยงามมีอายุนับพันปี เคยเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร (พระแก้วมรกต) เหตุที่วัดนี้ได้ชื่อว่าวัดพระแก้วดอนเต้า มีตำนานกล่าวว่า นางสุชาดา ได้พบแก้วมรกตในแตงโม (หมากเต้า) และนำมาถวายเจ้าอาวาส เพื่อแกะสลักเป็นพระพุทธรูป ซึ่งก็คือ พระแก้วดอนเต้า ซึ่งต่อมาได้รับการอัญเชิญไปประดิษฐานที่วัดพระธาตุลำปางหลวง เนื่องจากวัดพระแก้วดอนเต้า และ วัดสุชาดาราม นั้นร้างลง แต่มีการสันนิษฐานเพิ่มว่า น่าจะเป็นเพราะย่านนี้เป็นสวนหมากเต้า และเป็นที่ดอน จึงชื่อพระธาตุว่า พระบรมธาตุดอนเต้า และชื่อวัดว่า วัดพระธาตุดอนเต้า และต่อมาเมื่อมีการประดิษฐานพระแก้วดอนเต้า จึงเปลี่ยนชื่อเป็น วัดพระแก้วดอนเต้า วัดพระแก้วดอนเต้า เป็นที่ตั้งของพระบรมธาตุดอนเต้า ซึ่งเป็นพระเจดีย์องค์ใหญ่ บรรจุพระเกศาธาตุของพระพุทธเจ้า
มณฑปศิลปะพม่า ลักษณะงดงาม ประดิษฐานพระพุทธรูปองค์ใหญ่ และวิหารประดิษฐานพระพุทธไสยาสน์ ซึ่งมีอายุเก่าแก่ พอๆกับการสร้างวัดนี้ นอกจากนี้ยังมีวิหารหลวงพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติล้านนาและวิหารพระเจ้าทองทิพย์
ไปต่อที่วัดปงสนุก วิหารพระเจ้าพันองค์จึงเปรียบเสมือนส่วนผสมของศิลปะล้านนา และสิบสองปันนา ซึ่งมีความลงตัวในทุกส่วนสัด โดยในการบูรณะช่างได้พยายามรักษาชิ้นส่วนต่างๆ ที่เป็นของเดิมเอาไว้ให้มากที่สุด
ทั้งลายปูนปั้น ภาพเขียนสี หรือลวดลายฉลุต่างๆ ห้องกลางวิหารประดิษฐานพระพุทธรูป 4 องค์ หันพระพักตร์ออกสี่ทิศ ประทับใต้โพธิพฤกษ์ ทำด้วยตะกั่ว ด้านล่างของฐานชุกชีประดับลวดลายรูปช้าง นาค สิงห์ นกอินทรี ที่น่าชมอีกอย่าง คือ "ห้องแสดงศิลปวัตถุ" ที่อยู่ด้านข้างวิหารพระเจ้าพันองค์ เป็นศาลาชั้นเดียวขนานไปกับกำแพงบนม่อนดอย จัดแสดงโบราณวัตถุดั้งเดิมของวัดราว 4-5 ชิ้น ได้แก่ อาสนะ สัตตภัณฑ์ ขันดอก แผงพระไม้ นอกจากนี้ ยังมีนิทรรศการภาพถ่ายก่อน และหลังการบูรณะที่แสดงถึงความตั้งใจในการบูรณะในทุกรายละเอียดไว้ให้ชมอีกด้วย ด้วยความร่วมแรงร่วมใจของคนในชุมชนบ้านปงสนุกในการฟื้นฟูองค์ความรู้ด้านสถาปัตยกรรมโบราณ และเทคนิคการตกแต่งแบบดั้งเดิมที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวทำให้วัดวัดปงสนุกเหนือได้รับรางวัล Award of Merit ในระดับดี (Awards of Merit) จากองค์การยูเนสโก ที่น่าภาคภูมิใจสุดๆ ก็คือ รางวัลนี้ถือเป็น "รางวัลแรก" ของ "วัดในประเทศไทย" ที่ได้รับการยกย่องในด้านการอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมจากองค์การยูเนสโกอีกด้วย วัดศรีรองเมือง ทานอาหารกันตอนเที่ยง
วัดศรีรองเมือง เป็นวัดที่มีความสำคัญทั้งทางด้านประวัติศาสตร์ มีรูปแบบสถาปัตยกรรมที่โดดเด่น มีรูปลักษณ์การก่อสร้างในรูปแบบของพม่าที่สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2448 ในสมัยที่ลำปางเป็นศูนย์กลางการค้าขาย การทำป่าไม้ โดยคหบดีที่รับจ้างทำไม้ให้ฝรั่งชาติอังกฤษ ที่ได้สัมปทานการทำไม้จากรัฐบาลไทยแทบจะทั่วภาคเหนือ ซึ่งพ่อเฒ่าอินต๊ะ ศรีรองเมือง ร่วมกับชาวบ้านบริจาคที่ดิน จัดหาวัตถุมาก่อสร้างจนแล้วเสร็จ วัดจึงตั้งชื่อตามนามสกุลของผู้ริ่เริ่มสร้างว่า ศรีรองเมือง (นามสกุลมีมาในรัชกาลที่ 6 หลัง พ.ศ. 2453 แล้ว วิหารจึงมีอายุร้อยปี เมื่อ พ.ศ. 2548 ลักษณะสถาปัตยกรรมตัววิหารสร้างด้วยไม้สัก หลังคาจั่วซ้อนกันเป็นซุ้มเรือนยอด เป็นกลุ่มของชั้นหลังคา สวยงามตามแบบศิลปะพม่า มีลายฉลุบนสังกะสี ใช้ประดับบนจั่ว และเชิงชายหลังคา เพิ่มความอ่อนช้อย และสง่างามให้วิหาร เสาไม้ตกแต่งด้วยศิลปะการปั้นรักเป็นลวดลายเครือดอกไม้ ประดับด้วยกระจกสี เฉพาะเสาหน้าพระประธาน จะปั้นรักเป็นรูปเทพารักษ์ คน ยักษ์ วานรและสัตว์ป่าให้เหมือนในป่าหินมพานต์ หลังจากที่เสร็จแล้วก้อออกเดินทางไปจังหวัดลำพูน ไปแวะที่หมู่บ้านจังหวัดลำพูน สถาปัตยกรรมพื้นถิ่นของชาวลำพูน เป็นบ้านยองในสมัยโบราณหลังคากระเบื้องเป็นแบบหางว่าว สร้างด้วยไม้ทั้งหลังโดยบ้านหลังดังกล่าวได้สืบต่อกันมาหลายรุ่นแล้ว ใต้ถุนบ้านมีกระเบื้องวางอยู่ชาวบ้านจะซื้อมาเก็บไว้เพื่อเอาไว้ สร้างฉางเก็บของใต้ถุน
ซ่อมแซมกระเบื้องอันที่เก่าหรือว่าแตกหักเสื่อมสภาพไป บ้านหลังนี้มีทางขึ้นสองทางหน้าบ้านและหลังบ้านเหมือนเป็นทางเข้ารอง มียุ้งเก็บของอยู่บนบ้าน เป็นห้องหนึ่งห้องขนาดประมาณ 24 ตารางเมตร เอาไว้ใช้เก็บเกี่ยวผลผลิตทางการเกษตรแต่ยุ้งเก็บข้าวจะไม่มีบันไดขึ้นนเพราะไม่ค่อยได้ใช้แล้ว เข้าไปสำรวจภายในตัวบ้านมีห้องครัวอยู่บนบ้าน มีห้องสุขาแบบนังยอง แต่ไม่ได้เป็นห้องปิดมิดชิด เป็นส้วมแบบโบราณที่หาดูได้ยาก แล้วเดินไปบ้านยองโบราณ บ้านมะกอก เป็นบ้านของคุณยาย สวนต้นไม้หน้าบ้านสวยงาม ยกใต้ถุนสูง เป็นบ้านโบราณ ทำด้วยไม้ทั้งหลัง มีโต๊ะรับแขกอยู่ใต้ถุนบ้าน โอ่งดินเผาสำหรับรับแขกหน้าบ้านบ้านคุณยายมีขนาดใหญ่ คุณยายเป็นแมวมองส่งนางงามเข้าประกวดอยู่หลายงาน คุณยายชอบงานการประกวด ชอบหาสาวงามมาฝึกสอนเดิน ส่งเข้าประกวดเป็นประจำ บ้านหลังนี้ ประกอบด้วยห้องต่างๆหลายห้องห้องนอน ห้องพระ ห้องนอนขนาดเล็ก ขนาดกลาง ได้ศึกษาการวางของโครงสร้างหลังคาของบ้านคุณยาย การแห้ปํญหาของรางน้ำ ประตูบานพับเพื่อปิดเปิด พื้นที่สำหรับกำหนดพื้นที่ภายในบ้าน กรณีอยากได้พื้นที่มากขึ้นก็สามารถเอาประตูออกได้ พื้นที่ภายในบ้านก็จะมากขึ้น หลงัจากนั้นกHได้นั่งคุยกับคุณยายคุณยายก็เล่าให้ฟังเกี่ยวกับครอบครัว ยายอารมณ์ดีมาก คุยเก่ง ยายอยู่คนเดียวยาย ก็ยังแข็งแรง ยายจบแค่ประถมสี่ เท่านั้น ยายมีพี่น้อง น้องของยายมาเยี่ยมเสมอ ชวนไปเที่ยวบ่อยๆที่บ้านของน้อง ยายก็ไม่ต้องทำงานหนักทุกวันนี้มีคนคอยทำงานบ้านให้บ้าง ยายก็คุยเรื่องการประกวดนางงามให้ฟังน่าสนใจ
ยายคุยเรื่องอดีตให้ฟังดูยายมีความสุขมาก น่าเสียดายที่วันนั้นเราไปบ้านยายแค่ชั่วโมงเดียวเอง แต่ก็ประทับใจเป็นอย่างมากที่ได้ไปบ้านของยาย เพราะเคยเห็นยายออกทีวี ครั้งนึง ตกเย็น เตรียมตัวทานอาหาร กินข้าวที่จังหวัดลำพูน เป็นเซ็ตอาหารแบบขันโตกเป็นอาหารเหนือทั้งหมด มีอาหารแปลกๆ ที่เราไม่เคยกินเยอะมาก วันนี้อาจารย์เลี้ยง อาหารได้เร็วและอร่อย ได้ลองอาหารที่ไม่ค่อยลิ้มรสมากมาย ประสบการณ์ที่ดีอีก
แบบที่ชอบ หลังจากนั้นก็เดินทาง ไปจังหวัดเชียงใหม่ ใช้เวลาเดินทาง สี่ชั่วโมง ก็ถึงจังหวัดเชียงใหม่เราได้เข้าพักที่ สนามกีฬา 700 ปี จังหวัดเชียงใหม่ เป็นห้องจุสิบห้าคนต่อห้อง นอนกันเป็นห้องใหญ่
วันที่ 8 ก.ค. 2552 จังหวัดเชียงใหม่
เริ่มออกเดินทางแปดโมงเช้าเป็นทริปเชียงใหม่ครั้งแรกวันแรก ไปกินข้าวเช้ากันที่ตัวเมืองเชียงใหม่ตรงข้าม มหาลัยเชียงใหม่ แล้วออกเดินทางไปที่วัดพันเตา โครงสร้างสถาปัตยกรรมของวิหารวัดพันเตา ตัวอาคาร เนื่องจากสถาปัตยกรรมแบบเชียงแสนส่วนใหญ่ใช้ไม้เป็นวัสดุหลัก มีโครงสร้างแบบกรอบยึดมุมมาก
เสาและฝาทุกส่วนเป็นไม้โดยเฉพาะฝามีแบบวิธีการสร้างพิเศษคล้ายกับฝาปะกนของฝาไม้สมัยอยุธยา แต่มีขนาดตัวไม้ที่แน่นหนามั่นคงกว่า คือเป็นกรอบไม้ยึดยันรูปสี่เหลี่ยม อัดช่องภายในด้วยแผ่นไม้ลูกฟัก สัดส่วนใหญ่และหนากว่าฝาปะกน การทำฝาแบบทางเหนือนั้น ใช้ตัวไม้โครงเป็นช่องตารางยึดติดกับช่วงโครงสร้างก่อน แล้วจึงบรรจุแผ่นลูกฟักภายหลัง ฝาแบบนี้แข็งแรงและมั่นคง เพราะต้องทำหน้าที่เป็นตัวรับน้ำหนักของส่วนบนอาคารด้วย การทำฝาผนังของวิหารวัดพันเตาก็เป็นลักษณะนี้ โดยเฉพาะวิหารนี้ฝาผนังด้านข้างจะยาวตลอดเป็นแนวเดียวกัน
ไม่มีการย่อมุขซึ่งเป็นที่นิยมมากทางภาคเหนือคือ การย่อมุมตรงมุขหน้าวิหารทั้งๆ ที่เป็นวิหารขนาดใหญ่มาก การสร้างวิหารนี้ช่างทางเหนือสามารถแก้ปัญหาที่ความรู้สึกหนักทึบของฝาผนังด้านข้างที่มีขนาดใหญ่มากๆ นี้ได้ โดยอาศัยการแบ่งพื้นที่ของผนังด้วยกรอบไม้ยึดยันรูปสี่เหลี่ยมดังที่กล่าวมาแล้ว พร้อมกันนั้นก็ใช้ประโยชน์จากฝาผนังแบบนี้ ให้เป็นตัวช่วยรับน้ำหนักจากหลังคาที่มีขนาดใหญ่ตามขนาดวิหาร ไปต่อกันที่โรงแรม ยูเชียงใหม่ โรงแรม ยู เชียงใหม่ โรงแรมเปิดใหม่สไตล์บูติกล้านนา ตั้งอยู่ติดกับถนนคนเดินเชียงใหม่วันอาทิตย์ (ถนนราชดำเนิน) บริเวณสี่แยกกลางเวียง เป็นโรงแรมที่นำเอกลักษณ์ความงามทางสถาปัตยกรรมและรูปแบบ มาประยุกต์ออกแบบโรงแรมได้อย่าลงตัว แล้วได้เดินทางออกนอกตัวเมืองเชียงใหม่ไปที่ วัดทุ่งอ้อ ซึ่งเป็นรูปแบบของศิลปะที่สืบทอดต่อจากเวียงกุมกาม ทำให้แน่ใจได้ว่าวัดแห่งนี้มีอายุ ไล่เลี่ยกับเมืองเชียงใหม่ วิหารกับวัดเป็นสิ่งที่อยู่คู่กันมาแต่ครั้งโบราณ เนื่องจากวิหารเป็นสถานที่ใช้ สำหรับประกอบพิธีกรรมทางศาสนาของทั้งพระสงฆ์และฆารวาส นอกจากนั้นตาม หมู่บ้านต่าง ๆ จะนิยมใช้วิหารของวัดเป็นสถานที่ประชุมและจัดกิจกรรมต่าง ๆ ของ หมู่บ้านด้วยเช่นกัน วิหารของวัดอื่น ๆ ส่วนใหญ่จะมีความกว้างขวางใหญ่โตเพื่อสามารถ รองรับผู้คนที่มาทำบุญได้จำนวนมาก แต่ยังมีวิหารอีกแห่งหนึ่งที่มีขนาดเล็กแต่ทรงคุณค่า ด้านศิลปะและมีอายุเก่าแก่หลายร้อยปี นั่นคือพระวิหารวัดพระทุ่งอ้อ ความโดดเด่นและสวยงามของพระวิหารอยู่ที่การประกอบไม้โดยไม่ใช้ตะปูทั้ง หลัง เป็นวิหารก่ออิฐถือปูน และใช้ไม้สักเกือบทั้งหลังสำหรับการก่อสร้าง ซึ่งจะหาดูได้ ยากตามวัดโดยทั่วไป ดังนั้นตัวพระวิหารของวัดทุ่งอ้อจึงมีขนาดเล็กกว่าวิหารทั่วไป
คือ จุคนได้ประมาณ 50-60 คน ส่วนองค์พระประธานของวิหารนั้น เป็นศิลปะผสมระหว่าง พม่าและล้านนา สันนิษฐานว่าในสมัยโบราณบริเวณแถบนี้ได้มีการสู้รบระหว่างล้านนา กับพม่าบริเวณ และพม่าได้ยึดวัดนี้ไว้ จึงทำให้วัดมีศิลปะของพม่าผสมอยู่ เดินทางเยี่ยมชม วัดอินทราวาศ ตั้งอยู่ ตั้งอยู่ที่บ้านต้นแกว๋น ต.หนองควาย อ.หางดงเป็นวัดเก่าแก่ที่มีลักษณะงดงามมาก สิ่งที่น่าสนใจ คือศาลาจัตุรมุขซึ่งพบเพียงหลังเดียวในภาคเหนือ นอกจากนี้ ศิลปกรรมล้านนาดั้งเดิมภายในวัดนี้ยังจัดว่าเป็นต้นแบบที่สมบูรณ์และมีคุณค่ามาก เพื่อเป็นสถานที่หยุดพักขบวนแห่พระธาตุศรีจอมทอง จากอำเภอจอมทอง มายัง เมืองเชียงใหม่ ให้ประชาชนแถบนี้ได้มาบูชาและสรงน้ำพระธาตุ แล้วจึงอัญเชิญต่อไปยังเมืองเชียงใหม่ เพื่อให้เจ้าผู้ครองนคร และประชาชนในเมืองเชียงใหม่สรงน้ำบูชาอันเป็นประเพณีทุกปี หลังจากนั้นเดินทางไปโรงแรมราชมังคลา ราชมังคลา เชียงใหม่ (Rachamankha Chiangmai) เกิดขึ้นจากความรัก และหลงใหลในศิลปวัฒนธรรมล้านนา ผสมผสานกับศิลปะจีนโบราณ เพื่อให้ผู้ที่มาเยือนสามารถเข้าถึงวัฒนธรรมล้านนาได้อย่างแท้จริง วัสดุที่ตกแต่งภายในห้องเป็นศิลปะล้านนานำเข้ามาจากจีน ลาว และพม่า
วัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร เป็นวัดที่มีประวัติยาวนานมาตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัย มีสถาปัตยกรรม ศิลปกรรม และประติมากรรมที่งดงามยิ่ง ถือได้ว่าเป็นมรดกทางศิลปวัฒนธรรมอันล้ำค่าของเมืองพิษณุโลก พระวิหารพระพุทธชินราช เป็นวิหารทรงโรง เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธชินราช ซึ่งนับถือกันว่าเป็นพระพุทธรูปที่งดงามที่สุดองค์หนึ่งในโลก
จากการที่ได้ไปทริปครั้งนี้ เปรียบเสมือนว่าเราได้เปิดโลกทัศน์ให้กว้างขึ้นนอกเหนือจากที่มีอยู่ในห้องเรียน สร้างเสริมประสบการณ์โดยการออกไปหาความรู้ในรูปแบบต่างๆมากมายที่รอเราอยู่ ถือว่าเป็นประการณ์ที่ดีของชีวิตอีกครั้งหนึ่งที่ได้ศึกษาหาความรู้ในสิ่งต่างๆที่เราสามารถนำความรู้ที่เราไปประสบมานั้น นำมาใช้ประโยชน์ได้หลากหลาย เราไปในฐานะนักศึกษาไปทัศนศึกษา ทุกสิ่งที่เราพบเห็นนั้นเราควรศึกษา อย่างเช่นสิ่งแวดล้อม สถาปัตยกรรมรูปแบบต่างๆ โบราณสถาน บ้านโบราณ ชุมชนและอื่นๆ สิ่งเหล่านี้เป็นแหล่งข้อมูลสำคัญที่เราควรตระหนักและนำความรู้ที่บรรพบุรุษเรานั้นได้สั่งสมมาเป็นเวลาช้านาน มาใช้ประโยชน์กับชีวิตประจำวัน ทางด้านการเรียน การทำงาน การออกแบบที่เกี่ยวเนื่องกับสถาปัตยกรรม นับว่ามีประโยชน์ในหลายๆด้านมากมาย การเดินทางครั้งนี้ได้ทั้งความรู้ ประสบการณ์ความประทับใจจากเพื่อนๆ ความมีน้ำใจของเพื่อนๆ และอาจารย์ทุกๆท่านที่คอยชี้แนะแนวทางประสบการณ์ของสิ่งที่ไม่เคยสัมผัส วัฒนธรรม ประเพณี เป็นสิ่งที่มีประโยชน์กับการเรียนและชีวิตของตัวกระผมเองเป็นอย่างมาก รักอาจารย์จิ๋วมาก ท่านได้เสียสละให้ความรู้กับเราเป็นอย่างมากทั้งแรงกายแรงใจ เห็นความเอาใจใส่อยากให้เราได้เรียนรู้ในสิ่งที่ท่านรับรู้มา สิ่งสำคัญ คุณค่าของงานสถาปัตยกรรม วิถีชีวิตความเป็นพื้นถิ่นไทย ถ่ายทอดทุกสิ่งทุกอย่างเพื่อนักศึกษาของท่าน แม้กระทั้งเรื่องอาหารการกิน ท่านก็ยังคอยชี้แนะชักชวนให้เรารู้จักในสิ่งที่เราไม่เคยเห็นไม่รู้จักมาก่อน การใช้ชีวิตให้ถูกต้องเหมาะสม นับว่าเราโชคดีเหลือเกินกับการที่ได้ไปทริปและได้เรียนคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ลาดกระบังแห่งนี้ และจะไม่ลืมเรื่องดีๆที่เกิดขึ้นระหว่างไปทริป ความโอบอ้อมอารีย์ของชาวบ้านที่เราไม่ค่อยได้เห็นแล้วในปัจจุบัน ความมีน้ำใจที่ชาวบ้านได้ให้เรามาชาวบ้านให้เรามากกว่าที่เราไปถ่ายรูป เราได้คุณค่าได้ความรู้จากชาวบ้านเราควรเห็นบุญคุณหรือแหล่งความรู้ทุกที่ที่เราได้ไป ควรระลึกถึงบุญคุณที่พวกเขานั้นได้ให้กับเราไว้ด้วย และนำสิ่งเหล่านั้นมาใช้ให้เกิดประโยชน์มากที่สุด
บังเอิญเข้ามาอย่างไม่ตั้งใจ บทความมีประโยชน์มากครับ..ผมเองก็จบถาปัดลาดกระบังเหมือนกัน
ReplyDelete